การปลูกฝังเยาวชนให้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

พระสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน
พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร
พระอุดมสิทธินายก กำพล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในการปลูกฝังเยาวชนให้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี 2) ศึกษากระบวนการในการปลูกฝังเยาวชน 3) นำเสนอรูปแบบการปลูกฝังเยาวชนให้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบวิจัยแบบผสานวิธี สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) คณะสงฆ์จังหวัดสระบุรีให้การสนับสนุนเยาวชนด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ส่งพระไปสอนในโรงเรียน แต่กลับพบว่าพระสงฆ์ที่ส่งไปนั้นยังขาดทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่แตกต่างกันและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดี


2) กระบวนการการให้คำปรึกษา ได้แก่ การเปิดห้องคลินิกคุณธรรมให้นักเรียนปรึกษาหารือในปัญหาต่างๆ การเปิดการเรียนรู้ภายใน ได้แก่ การใช้เทคนิคการอบรมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของเยาวชน การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ การจัดกิจกรรมการบูรณาการวิถีพุทธ เน้นการคิด วิเคราะห์ ทบทวน ลงมือปฏิบัติ การพัฒนาแบบเวียนรอบ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการอบรมสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรมเป็นประจำทุกวัน


3) รูปแบบการปลูกฝั่งเยาวชนให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา มี 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการสร้างพระสงฆ์ต้นแบบที่มีความรู้ความสามารถ เข้าใจและเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง รูปแบบการสร้างและพัฒนาเยาวชนสู่การเป็นนักพูดดี คิดดี ทำดี รูปแบบการสร้างและพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นเยาวชนอย่างสมบูรณ์แบบ และรูปแบบการสร้างและพัฒนายุวพุทธมามกะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Economic and Social Development Board. (2007). National Economic and Social Development Plan No. 10 (2007 - 2012). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Office of the National Education Commission. (2002). Learning Reform. Bangkok: Printing Department, Religious Affairs.

Pattarawad, P. (2014). Faith Management, Proactive Propagation of Buddhism. Dhammathas Academic Journal. 14(1), 97-107.

Phra Charoen, V. (2019). The Way of Youth Behavior Development According to Buddhist Integration. Mahachula Academic Journal. 6(2), 309-320.

Phra Worrachat, T. (2018). Process of the Creation of Faith of the Buddhist Monks in Thailand. Dhammathas Academic Journal. 18(3), 47-55.

Phrakhrukittiyanawisit, T. (2018). The Role of the Clergy in the Development of Education. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU. 5(1), 177-191.

Phrakhruvinaithorn Anek, T. (2017). The Management of the Five Precepts Observing Village Project for Build Up Co-existence the Culture of Living Together of Community Prototype in Lower Northern Region. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 601.

Phramaha Krisada, K. (2019). A Model of Morality and Ethic Indoctrination of Young Generation byBuddhadhammathrough Morality ClinicProject Driving MechanismofBuddhist Teaching Monks. Journal of MCU Social Science Review, 8(1), 59-70.

Phrasutin, A. (2019). The Buddhism Propagation management of Sangha administrators in Muang district Chonburi Province. Journal of MCU Social Science Review, 8(2), 29.

Pravisutthibhatratada, et al. (2010). The development of Buddhist ethics in the basketry village: a case study of the basketry group Phanat Nikhom District Chonburi Province. Research Report. Buddhist Research Institute: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Waranuch, U. (1997). King and Royal Projects. Bangkok: Odean Store.

Wirachai, A. (2018). Ethics Development Strategy for Thai Youth. Ph.D. Dissertation. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Yang, K. (2016). A Study of The Principle of Faith of Buddhists in Ubon Ratchathani Province according to Theravada Buddhism. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Rat chathani Rajabhat University, 7(1), 67-76.