รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา

Main Article Content

พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต ทับงาม
พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วและกระบวนการไปในการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการบันทึกเสียงและจดบันทึกด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา เรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ด้วยแบบสอบถามด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการด้านสถานที่ที่เหมาะสม คือ จัดสถานที่ภายในวัดให้มีความเป็นสัปปายะ เน้นความสงบร่มรื่น มีพื้นที่สีเขียว และเน้นนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งาน มีสถานที่สำหรับการเดินจงกรมและนั่งสมาธิที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก ด้านวิทยากร คือ พระวิปัสสนาจารย์มีศีลาจารวัตรที่งดงาม (ศีล) มีองค์ธรรมที่สมบูรณ์ (สมาธิ) มีความสามารถในการสอนกรรมฐาน สอบอารมณ์ รวมถึงแนะวิธีการแก้วิปัสสนูปกิเลศให้แก้โยคีผู้ปฏิบัติได้ (ปัญญา) เป็นต้น ด้านการบริหารจัดการ คือ นำเอาหลักการบริหารสมัยใหม่ 4 M  PDCA มาใช้ในการวางแผนในทุกๆด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ang Thong Sangha Adminitrative. (2018). Strategic Plan for Buddhist Business Reform in Ang Thong Province. Bangkok: Chin Aksorn Printing.

Chalalairudi Y. et al. (2003). The Achievement in Dhamma Practice of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Students, Chiang Mai Campus. research report. Phra Nakhon Si. Ayutthaya: Institute of Buddhist Research.

Banjong S. et al. (2006). A study of guidelines for the development of the Dharma practice in the Sangha region. Section 11. research report. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Institute of Buddhist Research.

Phrakhrupaladnikom, n. (2019). Development of forms and standards in the administration of Dharma practice centers. Mahachula Academic Journal, 6 (special edition), 44.

Phrakhruwijitrdhammawiphat. (2019). Development of Dharma practice of Prachuap Khiri Khan province. Journal of MCU Social Sciences Review. 8 (3), 44.

Phramaha Bunlert, T. et al. (2004). Study of the attitudes of Buddhists towards the practice of Vipassana. research report. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Institute of Buddhist Research.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya Printing House.

Sakul, N. (2009). Dharma and Dharma practice. Bangkok: Chin Aksorn Printing.

Sunee, M. (2012). Sangsarawat. Bangkok: Comform.