การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

เยาวนิตย์ อรัญญวาส
ปิยะธิดา ปัญญา
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์  2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ 3) ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบ และพารามิเตอร์ในโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์  ระหว่างครูที่มีที่ตั้งโรงเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 760 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ


           ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. ผลการศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 5 องค์ประกอบ 38 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ 2) การสร้างและใช้เครื่องมือการวัดและประเมินผล 3) กลยุทธ์การวัดและประเมินผล 4) การแปลความหมายคะแนนและการตัดสินผลการเรียน 5) การรายงานและนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้

  2. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรแฝง มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


          3. ผลการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบและพารามิเตอร์ในโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ ระหว่างครูที่มีที่ตั้งโรงเรียนแตกต่างกัน คือ โรงเรียนในเมือง กับ โรงเรียนนอกเมือง พบว่า โมเดลไม่มีความแปรเปลี่ยนทางด้านรูปแบบแต่มีความแปรเปลี่ยนทางด้านพารามิเตอร์บางค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buathong, S. (2017). Measurement and Assessment of Learning Skills in the 21st Century. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2).

Buros Center for Testing. (2019). Standards for Teacher Competence in Educational Assessment of Students. Retrieved March 4, 2018, from https://buros.org/standardsteacher-competence-educational-assessment-students.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2010). Handbook of Additional Science Subject for Teachers of Science, Chemistry 2, 9th Grade Department of Science and Technology Based on Core Basic Education Curriculum of 2008. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Kanjanawasee, S. (2011). Assessment Theory. (8th ed.). Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University.

Ministry of Education. (2018). The Basic Education Core Curriculum of 2018. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Office of Basic Education Commission. (2010). Handbook for Competency Evaluation of Teachers Under Office of Basic Education Commission of 2008. Bangkok.

Office of the Education Council. (2009). Standards of Teaching Profession. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Panich, V. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. (1st ed). Bangkok: The Publisher of Sodsri Saritwong foundation.

Polyon, P., Thedsakhulwong, A. & Wonglao, P. (2019). The Development of the Model of Using Science Equipment of Teachers in Secondary Schools, Journal of MCU Peace Studies, 7(Supplemental Issue), 298-321.

Pornpisuthimas, S. (2014). How to Improve Science Learning Efficiency of learners in the 21st Century through Learning Evaluation?, Journal of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 2(1): 81-90, 2014.

Wongkom, K. (2004). A Model of Teacher Development for Empowerment Learning Evaluation Based on the National Education Act of 1999. Dissertation Doctor of Education. Bangkok: Chulalongkorn University.