การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิของนักศึกษาครูสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ

Main Article Content

เจือจันท์ วังทะพันธ์
โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
พระครูสุธีคัมภีรญาณ ประมวล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับความฉลาดทางอารมณ์ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิของนักศึกษาครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาครูสมาธิด้วยการปฏิบัติสมาธิตามแนวทางการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาและแนวทางของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ที่สอดคล้องกับความฉลาดทางอารมณ์ มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ การตระหนักรู้ในตนเอง การควบคุมตนเอง การจูงใจในตนเอง การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และทักษะทางสังคม คุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิ ทำให้นักศึกษาแสดงออกใน 3 ด้าน คือ 1) การแสดงออกทางอารมณ์ มีสติรู้เท่าทันความคิดของตนเอง และบริหารจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น 2) การแสดงออกทางพฤติกรรม (สังคม) ควบคุมตนเองโดยแสดงออกทางกายวาจา และเป็นมิตรกับผู้อื่นในสังคมได้ดีกว่าเดิม 3) การแสดงออกทางปัญญา มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความรับผิดชอบ มีเหตุผล มีความรอบคอบ และมีปัญญาฉับไวในการแก้ไขเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในกระบวนการการพัฒนาจะมีกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมสัมพันธ์ กิจกรรมการเดินจงกรม-นั่งสมาธิ กิจกรรมสวดมนต์ กิจกรรมแสดงความรู้สึก กิจกรรมการเลือกประธานรุ่น กิจกรรมครูพี่เลี้ยง กิจกรรมการเดินธุดงค์ ช่วยในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuwan, P. (2019). Interviewed. September, 29.

Bamrungphak, S. (2015). Stop! Internal Sense-Fields: The Way of Mental Cultivation for Learning Enhancement. Journal of MCU Academic, 2 (Special Issue), 295-306.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Harigan, S. (2019). Interviewed. September, 5.

Jampaloay, T. (2019). Interviewed. September, 22.

Kuptrakul, C. (1991). Human and Universe. (6th). Bangkok: Suddha Printing.

Leardsomporn, N. (2019). Interviewed. September, 21.

Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tipitaka Mahachulalongkornrajvidyalaya University Edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1998). Buddhadhamma. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2003). Buddhadhamma. Bangkok: Wan Waithayakorn Book Project

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto) (1998). Looking to America to solve Thai problems. Bangkok: Buddha Dharma Foundation.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto) (1998). Study of Needed Development Tools. (2nd ed.) Bangkok: Buddha Dharma Foundation.

Phra Dhammongkolyarn. (2011). Meditation Teacher Curriculum Volume 1. Bangkok: Phighanee.

Phra Dham Thirarat Mahamuni. (1988). Samatha and Vipassana Meditation. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya printing.

Phra Thanin Vichito, (2019). Interviewed. September, 29.

Pin Mudukun. (1992). Guideline for Dhamma. Bangkok: Mahamakut Buddhist University.

Polpattana, P. (2019). Interviewed. September, 22.

Somme, T. (2019). Interviewed. September, 30.

Srirasa, C. (2019). Interviewed. September, 21.

Supantanan, P. 2019). Interviewed. September, 25.

Thamneammai, P. (2019). Interviewed. September, 21.

Trakulsakrit, W. (2000). Adjustment Psychology. Bangkok. Academic Support Center Printing.

Vipassana Department (compiler). (2005). Manual of Basic Vipassana Meditation. Vipassana Meditation for University Personnel Development. Group 6. 8-12 August. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.