รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ทั้ง 8 อำเภอ จำนวน 450 ราย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบ วิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การประชุมกลุ่มย่อย (focus group) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) กับผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด ซึ่งมี ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ราย ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ จำนวน 30 ราย และประชาชนจังหวัดแพร่ จากทั้ง 8 อำเภอ จำนวน 50 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดแพร่ ปัจจัยด้านชุมชน และสังคมที่เป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของจังหวัด ปัจจัยส่วนบุคคลที่เป็นข้าราชการ และปัจจัยด้านครอบครัวที่มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท เป็นปัจจัยมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอายุ 31 – 40 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา และอายุ 51 ปี ขึ้นไป เป็นปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ โดยตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ได้ร้อยละ 99.7 และ 3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิต กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดแพร่
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Development of Indicators Quality of Life and Thai Society. Bangkok: The Thailand Research Fund
Khemmani, T. (2008). The Science of Teaching: Knowledge for Organising Effective Learning Process. (8th ed). Bangkok: Darnsutha Press Co., Ltd.
Ngammeerith, N., Rareukchat, W., Phowan, N. (2018). A Model of Quality of Life Development of the Elderly in Central Region by Using Recreation. Academic Journal Institute of Physical Education, 10(1), 127-142
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The National
Economic and Social Development Plan no. 12 (2017-2021). Bangkok: Office of the
Prime Minister
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). Summary the Twelfth National Economic and Social Development Plan. Retrieved January 5, 2019 from
https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6421&filename=index
Phrae Province Office. (2018). Phrae Provincial Development Plan 2018 - 2021. Phrae: Strategy and Information for Provincial Development.
Srisa-ard, B. (2000). Research in Measurement and Evaluation. Bangkok: Suwiriyasarn Co., Ltd.
Tirakanant, S. (2003). The use of statistics in social sciences: guidelines. Bangkok: Chulalongkorn University.
UNESCO. (1981). Quality of Life: An Orientation to Population Education. New York: UNESCO.
WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine 41: 1403-1409.