คติความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าในเถรวาทและพุทธตันตระ

Main Article Content

สุดาพร เขียวงามดี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและกระบวนการบรรลุพุทธภูมิในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทและแบบพุทธตันตระที่วิวัฒนาการภายหลัง พุทธศาสนาเถรวาทได้แบ่งพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบเองสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไม่ได้ พระอรหันตสาวกคือผู้ตรัสรู้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขั้นตอนการตรัสรู้นั้น ผู้ที่ต้องการเป็นพระพุทธเจ้าและอยู่ในฐานะพระโพธิสัตว์ ต้องบำเพ็ญบารมีครบถ้วน 3 ระดับ คือ บารมี 10  อุปบารมี 10  และปรมัตถบารมี 10  พระพุทธเจ้าทั้งในอดีต 23 องค์ ต้องผ่านกระบวนการตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองทั้งสิ้น และการที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ล้วนมาจากกำลังบารมีทั้งสิ้น ในส่วนพระพุทธเจ้าแบบตันตระซึ่งมีวิวัฒนาการในประมาณ พ.ศ. 700 ได้มีมนตรยานซึ่งเปิดเผยโดยพระไวโรจนพุทธเจ้า พระวัชรสัตว์รักษาไว้ และพระนาคารชุนเปิดเผยในการต่อมา ในทัศนะของพุทธตันตระมีพระอาทิพุทธเจ้าซึ่งมีลักษณะคล้ายพระเจ้าสูงสุดในฮินดู มีการเปลี่ยนพลังสร้างสรรค์ของพระอาทิพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าอีก 5 พระองค์ มีพระไวโรจนะ เป็นต้น ในเรื่องหลักธรรม เถรวาทแบบเดิมได้แบ่งธรรมะและอธรรมออกชัดเจน แต่ในพุทธตันตระได้กล่าวว่ากุศลภาวะและอกุศลภาวะมีอยู่ในพระพุทธเจ้า ในด้านพระโพธิสัตว์ที่มีปางต่างๆทั้งปางสวยงามและปางดุร้าย เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาแบบเดิมที่เปลี่ยนเช่นนี้ เนื่องจากการปรับปรุงหลักธรรมและวิธีการสอนให้เข้ากับอุปนิสัยของศาสนิกในยุคที่ต้องต่อสู้ในการเผยแผ่ศาสนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bagchi, S. (1965). Guhyasamājatantra or Tathāgataguhyaka / Buddhist Sanskrit Texts No.9. Darbhanga: The Mithila Institute.

Bodhinanda, S. (1971). History of Buddhism: Oral edition Part. I. PhraNakhon: Buddha-upatham Press.

Bodhinanda, S. (2000). Buddhadharma and philosophy. Nakhonpathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Bodhinanda, S. (2000). Dharma stream of Mahayana. Nakhonpathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Bodhinanda, S. (2012). Mahayana philosophy. Nakhonpathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Encyclopedia of Buddhism(1961). Ceylon: The Government Press Ceylon, 1961.

Kabilsingha, C. (1993). China and Mahayana Buddhism. Bangkok: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Kabilsingha, C. (1995). Tibetan Buddhism. Bangkok: Songsiam.

Phrabuddhadattathera.(1992). Madhuratvilāsinīnāmakhuddakanikāyaṭaṭhakathā Vol. 44. Bangkok: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Phrabuddhaghosacharya. (2011). Dhammapadatathakatha Vol.1. Nakhonpathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Phramahasomjintasammāpañño. (2001). (2004). Buddhism civilization in Tibet. Bangkok: Sukhabhabjai Press.

Phramahasomjintasammāpañño. (2001). Buddhist philosophy, content and development. Bangkok: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Phrasobhonganaphorn (RababThitayano). (1986). History of Buddhism. Bangkok: Sivaporn.

Punyanubhab, S. (1996). The Tipitaka for the People. Bangkok: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Somdetphramahasamanachaokromphraparamanuchitchinoras. (1994). Pathomsombodhi (Pali) Version of transcription from Khmer palm leaf letters. Bangkok: Sahadharmika.

Somdetphramahāvīravaṁṡa (PimpaDhammadharathera) (Editor). (2005). Universal Religion. Nakhonpathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Somdetphrasanggharaj (Pussadeva). (1983). SoadmonChababloang. (The royal prayer). Bangkok: Mahamakutarajavidyalaya Press.

Syāmaraṭṭhassatepiṭakaṃ. (2013). Pali Tripitaka. NakhonPathom: Mahamakutarajavidyalaya Press.