นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกับความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย

Main Article Content

จริยา โกเมนต์
เฉลิมชัย ปัญญาดี
บงกชมาศ เอกเอี่ยม
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทั้งปัจจัยระดับชุมชน และระดับครัวเรือนที่ส่งผลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน 88 ชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างระดับชุมชน 56 ชุมชน และระดับครัวเรือน 672 ครัวเรือน ทำการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาครัวเรือนในชุมชนท่องเที่ยวมีความเป็นปึกแผ่นระดับปานกลาง (= 3.31, S.D. = 0.84) โดยมิติที่มีความเป็นปึกแผ่นมากที่สุด คือ การบูรณาการทางวัฒนธรรม น้อยที่สุด คือ การบูรณาการทางการสื่อสาร 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชน พบว่า ปัจจัยระดับครัวเรือน การตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน และผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 40.50 (R2 = 0.405, P<0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกมากที่สุด คือ การตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน ( = 0.658, P<0.05) ส่วนปัจจัยระดับชุมชน ผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อชุมชน การสนับสนุนจากภายนอก การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน และระยะเวลาการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 76.80 (R2 =0.768, P<0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบมากที่สุด คือ การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน (= - 0.502, P<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aeknarajindawut, N., Boonphadung, S., & Rungsawanpho, D. (2019). Antecedents of the Success of OTOP Navatwithi Tourism Village Project in Phrae Province. Journal of MCU Peace Studies, 7(6), 1781-1782.

Chantavanich, S. (2012). Sociology Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chusongdate, R. (2012). Exploration and Sustainable Heritage Management in Pai-Pang MaphaKhun Yuam Districts, Mae Hong Son Province. (Research Report). Bangkok: The Thailand Research Fund.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Dokbua, K. (2008). Social Capital and The Existence of Rural Communities A Case Study of Tambon Bang Jao Cha Tourism Community Moo.8 Ban Yang Thong, Pho Thong, Ang Thong Province. (Master's Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Landecker, S. (1951). Type of Integration and Their Measurement. The American Journal of Sociology, 56, 332-340.

Laoko, N. (2006). Development of Fund Management Process for the Village and Urban Community Fund Committee, Royal Thai Air Force, Wing 46. (Master's Thesis). Pibulsongkram Rajabhat University. Phitsanulok.

Ministry of Tourism and Sports. (2019). Domestic Tourism Statistics (Classify by region and province 2019). Retrieved May 10, 2019, from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=525

Panurat, A. (2006). Doctrine of Local Studies. Surin: Surin Rajabhat University Printing.

Sitikarn, B., Jaima, S., & Comesan, J.. (2006). Socio-cultural Impacts of Tourism Development in Chiangrai Province, Thailand. (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund.

Suksang, A. (2012). Harmony Driving Steps: A Case Study of Thoranikham Community in Khok Fad Sub-District of Nong Chok District in Bangkok. (Master's Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Suparatpreecha, V. (2010). Social and Cultural Impact of Tourism in Wat Ket Community's, Chiang Mai Province. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.