พุทธวิธีส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมไทย 2) เพื่อสังเคราะห์ค่านิยมในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธวิธีส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่านิยมในสังคมไทยเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน “ค่านิยม” ว่าเป็นความเชื่อหรือความรู้สึกนึกคิดของบุคคลมีช่วงระยะเวลาในการสร้างและดำเนินจนกลายเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต มีพื้นฐานองค์ประกอบสำคัญจากการส่งเสริมคุณธรรม 4 ประการ คือ 1. การรักษาความสัจ ความจริงใจ 2. การรู้รักข่มใจอยู่ในความดี 3. การอดทน อดกลั้นและอดออม 4. รู้จักละวางความชั่วทุจริต 2) ค่านิยมทางพระพุทธศาสนานั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันเป็นมรดกตกทอดของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ตลอดจนถึงลัทธิและความเชื่อที่สั่งสมเป็นวัฒนธรรม 4 ด้าน คือ คติธรรม เนติ วัตถุธรรมและสหธรรม 3) แนวทางการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยตามหลักพุทธธรรมที่ทำให้เกิดค่านิยมที่จะปลูกฝังสร้างเสริมค่านิยม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี คือแนวทางการส่งเสริมค่านิยมตามหลักกตัญญูกตเวที หลักเบญจศีล เบญจธรรม หลักสุจริต หลักจาคะ และหลักสันโดษ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chuatong, N., & Rojchanaprapayont, R. (2016). Values, Ideologies, and Communication Patterns Indicated Thais’ Culture. NIDA Journal of Language and Communication, 21(29), 110-114.
Huaihongthong, P. (2019). Human Resource Development Buddhist in Globalization. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 6(2), 24-44.
Kamales, N. (2019). Leaders with Managing Cultural Diversity and Communication. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(1), 63-72.
Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.
Office of the National Culture Commission. (2000). Thai Culture. Bangkok: Ministry of Culture Publication.
Peuchthonglang, P., & Peuchthonglang, Y. (2018). The True Friends: Noble Friends on the Path of the Enlightenment. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(2), 117-138.
Pherakhru Uthaikitjaruk, & Pherakhrubaidika Suwin Suvichano. (2019). The Traditional Belief of People to Promoting of Good Thai Civilian. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 6(2), 271-286.
Phra Brahmmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). Dictionary of Buddhist. Bangkok: Plithamma.
Phrakhrusangharak Chakkit Phuripanyo. (2018). An Analysis of the Buddhist Monks’ Leadership CharactersinBuddhist Propagation. Journal of MCU Nakhondhat, 5(2), 250-266.
Phramaha Khwanchai Kittimethi and Phramaha Weeratis Varinto. (2019). The Integration of Good Governance to the Good Life in Thailand’s Current Society. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(2), 267-284.
Royal Institute. (2002). Dictionary of Royal Institute. Bangkok: Nanmee Books Publication.