อรรถปริวรรตการรักษาศีลแปดตามหลักปรัชญาหลังนวยุค: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรักษาศีลแปดของอุบาสิกาเป็นการสมาทานเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์อันเป็นแนวทางการพัฒนาฝึกฝนตนเองและเป็นครื่องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง แต่การรักษาศีลแปดไม่ใช่การรักษากฎเคร่งครัด ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะหาคำตอบของคำถามวิจัยที่ว่า การรักษาศีลแปดสามารถตีความใหม่ด้วยกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลางได้หรือไม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน การตีความการรักษาศีลแปดตามหลักปรัชญาหลังนวยุคด้วยหลักอรรถปริวรรต เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสิกาและแม่ชี งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยทางปรัชญาอันได้แก่ วิภาษวิธีและวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายตรงข้ามที่ยึดมั่นในปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลางกับฝ่ายผู้วิจัยและผู้สนับสนุนความคิดของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามมีมุมมองว่า การรักษาศีลแปดไม่สามารถตีความใหม่ด้วยกระบวนทรรศ์หลังนวยุคสายกลางได้ แต่ต้องตีความตามหลักการของกระบวนทัศน์ยุคกลางเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก ศีลแปดเป็นเรื่องของศาสนาเป็นข้อประพฤติของผู้รักษาพรหมจรรย์ตามหลักศาสนา ประการที่สอง ศีลแปด เป็นศีลพรหมจรรย์ที่มุ่งโลกุตตระ แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นแย้งกับข้อเสนอดังกล่าว และได้เสนอคำตอบใหม่ว่า การรักษาศีลแปดสามารถตีความใหม่ได้ด้วยหลักอรรถปริวรรตของปรัชญาหลังนวยุค ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่าพรหมจรรย์ในทางพุทธศาสนาเมื่อตีความโดยบริบทของคำแล้ว ความหมายของ “พรหมจรรย์” มีหลายอย่าง เช่น ทาน วิริยะ อริยมรรค ธรรมเทศนา เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นข้อธรรมที่ใช้สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องต้องกันกับหลักปรัชญาหลังนวยุคทั้งสิ้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นเหตุผลและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสิกา แม่ชีและผู้ปฏิบัติถือครองพรหมจรรย์เพื่อให้เกิดความสุขแท้ในโลกนี้และโลกหน้าด้วย
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bunchua, K. (2006). Interpretation Fated Relationship Postmodern Philosophy. Bangkok: Chulalongkorn University
Bunchua, K. (2018). An Introduction to Philosophy and Ethics. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.
Department of Religious Affairs. (1982). Tipitaka Thai, Royal Edition. Bangkok: Department of Religious Affairs.
Gadamer, H. G. (2008). Philosophical Hermeneutics, 30th Anniversary Edition. Translated by Linge D.E. California, University of California.
Harimtepathip, M. (2015). Moderate Postmodernism. Retrieved July,10, 2019 from http://philosophy-suansunandha.com/2015/07/08/moderate-postmodernism
Phra Buddhaghosa. (2003). Visuddhimagga. (4th ed). Bangkok: Prayoonwong Printing.
Somdet Krom Luang VaJirayannavong. (2015). Dhammanukrom. Bangkok: Mahamakut Buddhist University Printing House.
Somdet Pra Nyanasamvara. (2010). Precepts in Buddhism. (4th ed). Bangkok: Mahamakut Buddhist University Printing.
Srisamdang, S. (1991). Buddhism and Educational Principles: Knowledge Theory. Bangkok: Neelnara Printing.
Tewintho, T. (2003). Buddhist Ethics, Ethics and Ethics. (2nd ed). Bangkok: Mahachulabannakhan.