กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์เป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์เป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกัน 2) ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาไทยในการสื่อความหมายจากภาพยนตร์อเมริกัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ รวบรวมข้อมูลรายชื่อภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2551–2552 จากแผนกควบคุมภาพยนตร์ กองทะเบียน กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 321 เรื่อง ซึ่งในช่วงปีพ.ศ.2551-2552 นั้น เป็นช่วงที่มีจำนวนภาพยนตร์อเมริกันเข้ามาฉายในประเทศไทยมากที่สุด และนำมาศึกษาวิเคราะห์เรื่องกลวิธีการใช้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดของ ธรรณปพร หงษ์ทอง จากดุษฎีนิพนธ์เรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรมของพุทธทาสภิกขุ : กรณีการสอน "อิทัปปัจจยตา" ปีพ.ศ.2557 และใช้แนวคิดการจัดประเภทภาพยนตร์ของ เดชพัฒน์ อรรถสาร ปีพ.ศ.2537 ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดแบ่งหมวดหมู่ชื่อภาพยนตร์ออกเป็น 4 ประเภทคือ 1) ชื่อภาพยนตร์ประเภทชีวิต 2) ชื่อภาพยนตร์ประเภทเบาสมอง 3) ชื่อภาพยนตร์ประเภทลึกลับสยองขวัญ และ 4) ชื่อภาพยนตร์ประเภทต่อสู้เร้าใจ และพบว่า ลักษณะของการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์เป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกันมีการใช้ภาษาในการสื่อความหมายใน 3 ลักษณะคือ 1) สื่อความหมายถึงตัวเอกของเรื่อง 2) สื่อความหมายถึงเนื้อหาของเรื่อง และ 3) สื่อความหมายถึงบรรยากาศของเรื่อง สำหรับกลวิธีในการใช้ภาษาไทยสื่อความหมายนั้น พบ 3 วิธี คือ 1) การตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์ใหม่ 2) การใช้คำทับศัพท์ และ 3) การแปลคำศัพท์ และนอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกันนั้นคำนึงถึงบทบาททางธุรกิจมากกว่าบทบาททางด้านการสื่อความหมาย
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Athasarn, D. (1994). Thai naming process in American movies. Department of Mass Communication. Chulalongkorn University.
Bachev, H. (2010). Assessing farm competitiveness in Bulgaria. Retrieved December 5, 2017, from https://Chrabrin_Bashev/publication/228243738Bulgaria/links/59eca74ba6fdccef8b0dbc03/Assessing-Farm-Competitiveness-in-Bulgaria.pdf.
Boonkongsang, T. (2009). A Study of Naming in Thai of American Film. Bangkok: Mahidol University.
Hongthong, T. (2014). The Language Strategy in Buddhadhamma Propagation of Buddhadasa: A Study in Idappaccayatã. Doctor of Philosophy, Research Report. Kasetsart University.
Klinchan, N. (2010). Modern English Grammar. (4th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phanthong, S. (2015).Naming in Thai of Foreign Movies. Bangkok: Rajabhat Bansomdej Chaopraya University.
Prasitrathasin, A. (1997). Social linguistics.(2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Thongwan, S. (2013). Strategies for translating American comedy movies into Thai. Nakorn Pathom: Silapakorn University.
Wasi, P. (1999). Community Economy: The choice to survive Thai. Bangkok: Dhurakij Pundit University.
Wessakoson, P. (2015). Translation from Thai into English. (2nd ed.). Bangkok: Thammasart University.