รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในเขตอีสานตอนล่าง

Main Article Content

บูรณ์เชน สุขคุ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในเขตอีสานตอนล่าง กลุ่มประชากรเป็นชาวกูยตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ และชาวกูยตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำวัฒนธรรมและประชาชนพื้นที่เป้าหมาย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชาวกูยมีความเชื่อในผีบรรพบุรุษและศาสนาพุทธผสมกัน ก่อเกิดภูมิปัญญาสืบทอดกันมาเป็น  รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐาน การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายภาพ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อมและปัญญา คุณภาพชีวิตในด้านกายภาพเป็นการดูแลสุขภาพกายแบบองค์รวม คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติ คุณภาพชีวิตทางจิตใจเชื่อมโยงกับความเชื่อผีบรรพบุรุษ ชาวกูยเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นยังสถิตคอยดูแลลูกหลาน ชาวกูยจึงเซ่นผีบรรพบุรุษเพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสังคม ชุมชนชาวกูยเป็นสังคมปิดส่วนใหญ่เป็นเครือญาติเดียวกัน มีผู้นำสายตระกูลเป็นแบบแผนดำเนินชีวิตและเป็นผู้นำพิธีกรรมก่อเกิดความมั่นใจแก่คนในตระกูล คุณภาพชีวิตด้านปัญญาเป็นความเข้าใจโลกและชีวิต การประกอบอาชีพ การป้องกันและแก้ไขปัญหา รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์กูยมีลักษณะเป็นองค์รวม จากรูปธรรมสู่นามธรรมคือจิตใจและปัญญา ครอบคลุมถึงด้านกายภาพ จิตใจและอารมณ์  สิ่งแวดล้อม สังคมและปัญญา โดยสัมพันธ์กันทั้งคุณภาพชีวิตระดับปัจเจกและสังคม                                                                                                            

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chairata, C. (1993). Quality of Life of Rural Population: A Case Study of Fak Tha District, Uttaradit Province. Bangkok: Chulalongkorn University.

Chansuraya, S. (1993). Wisdom and Rural Development. Bangkok: Wisdom Foundation.

Chanthong, I. (2001). The Role of the Glamor Ceremony of the Kui Samrong Thap in Samrong Thap District, Surin Province. Bangkok: Silpakorn University.

Chinnak, S. (1996). Pripakam: the Belief in Ancestor Spirits of Thai-kouy (Soai) Mahout Surin Province. (Master Thesis). Bangkok, Thailand: Graduate School, Chulalongkorn University.

Jirochapan, W. (2005). Thai Arts and Culture. Bangkok: Sangdaw.

Kaomuangfang, S. (2010). Model for Improving the Quality of Life of Farmers in Chiang Rai Province. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University.

Meekusol, P. (2002). Social Development of the Khmer Ethnic Group, Pa Dong. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Mettarikanon, D. (1986). Local History. (2nd ed.). Khon Kaen: Klang Nana Tham.

Motong, U. (2004). The Believe in Spirit of Kui ethnic group in Thailand and Lao People’s Democratic Republic. Surindra Rajabhat University.

Phongphit, S. (2005). Network: Strategies for an Intense and Strong Community. Bangkok: Institute for Promotion Community Enterprise.

Phothisita, C. (2013). Science and Art of Quality Research. (6th ed.). Bangkok: Amarin Printing.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (1986). Buddhadhamma. (3rd ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phromtha, S. (2006). Religion for the Development of Quality of Life. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

Pridisawat, P. et al. (1986). Health Care Behaviors of Northeastern Rural People. Bangkok: Mahidol University.

Sriboonnak, K. (1996). Glamor: Dancing in the Rituals of the Thai Kui in Surin Province. Surin: Surin Rajabhat Institute.

Wasi, P. (1998). The New Path of Health Encouraged: Creating Prosperity for Life and Society. Bangkok: Mho Chao Baan.