กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้วยแนวทางยุทธศาสตร์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5: กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนยาง ตำบลนาดี อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

Phrarajarattanarongkorn
พระครูปลัดเกษฏา มหาปัญโญ
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้วยแนวทางยุทธศาสตร์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อติดตามและประเมินผลการประยุกต์แนวทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 สู่รูปธรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1  ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูป/คน ระยะที่ 2 ใช้การจัดสนทนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า 1) กระบวนการขับเคลื่อนมี 4 องค์ประกอบคือ ระบบโครงสร้างของนโยบาย, ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง, การตอบสนองของประชาชนในหมู่บ้าน และกลยุทธ์ที่เป็นตัวแปรสำคัญ 2) แนวทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส, ความต่อเนื่องของกิจกรรม, การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน, ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ, และ ความคาดหวังของชุมชน 3) ผลของการวิเคราะห์ ประกอบด้วย  จุดเด่นหรือจุดแข็ง, จุดด้อยหรือจุดอ่อน, โอกาส, อุปสรรค ความเสี่ยง ภัยคุกคาม หรือข้อจำกัด ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า 1) การติดตามและประเมินผล มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในเชิงบวกหลังเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ด้านเบญจธรรม, ด้านพรหมวิหารธรรม และ ด้านนาถกรณธรรม 2) เจตคติ  ได้แก่ การเป็นศูนย์ดำเนินงาน, ผลของการขับเคลื่อน, ตัวชี้วัดความสุขของคนที่รักษาศีล 5 และ 3) กลยุทธ์และแนวโน้มการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้แก่ สภาวะปัจจุบัน, ปัจจัยที่ทำให้ประสบความล้มเหลว, ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ, ปัญหาอุปสรรค, และ กลยุทธ์และแนวโน้มการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

Article Details

How to Cite
Phrarajarattanarongkorn, มหาปัญโญ พ., & เคณาภูมิ ส. (2019). กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้วยแนวทางยุทธศาสตร์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5: กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนยาง ตำบลนาดี อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1233–1252. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/205315
บท
บทความวิจัย

References

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version.Bangkok: MCU Press.

Mongkolkeha, S. (2018). Achievement of the 5 Precepts Village Project in the case of Muang District, Loei Province. Thesis Master of Arts. Graduate School: Rangsit University.

Phrakhruwinaithorn Anek Tejavaro (Yai-in). et al. (2017). The Management of the Five Precepts Observing Village Project for Build Up Co-existence the Culture of Living Together of Community Prototype in Lower Northern Region. Journal Social Science, (MCU), 6(2), 601.

Rangchaikunwibunsri, Y. (1999). Project Evaluation: Concepts and Practices. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.

Sinsuwan, S. (2007). HR and Organization Development to High Performance Organization. Documents for Academic Seminars and Lectures, 15-16 November 2007. Bangkok: Personnel Management Association of Thailand.

Wongsanutroj, P. (2009). The Process of Creating and Developing a Social Sales Network: a Case Study of Nong Khao Village, Thamuang District, Kanchanaburi Province. Thesis Master of Science Program. Graduate School: Mahidol University.