รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บริเวณลุ่มน้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อนุรักษ์ ประทุมชาติ
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบริเวณลุ่มน้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบริเวณลุ่มน้ำโขง จำนวน 60 คน ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาร่างรูปแบบ จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ คือ การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย ด้านการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจ ด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร และด้านการสร้างประโยชน์แก่ชุมชน  2) วัตถุประสงค์ เพื่อบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย การพัฒนาสิ่งดึงดูดใจ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การอนุรักษ์ทรัพยากร และการสร้างประโยชน์แก่ชุมชน 3) การดำเนินการ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ชาวชุมชนต้องให้ความสำคัญและร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนต้องเสียสละและเห็นความสำคัญของทรัพยากร การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด และภาครัฐต้องให้การส่งเสริมทางด้านนโยบายและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akdu, U., & Pehlivan, N. (2014). Social Participation in Sustainable Tourism Development. Gumushane: Gumushane University Turkey.

Amir, A. et al., (2015). Sustainable Tourism Development: A Study on Community Resilience for Rural Tourism in Malaysia. Procedia–Social and Behavioral Sciences, (168), 116–122.

Department of Tourism. (2012). Strategic Plan and Strategy for Tourism Development 2012 - 2016. Bangkok: Department of Tourism Ministry of Tourism and Sports.

Klinmeang, J. (2015). Guidelines for Tourism Management A Case Study: Cultural Attraction Klong Bang Luang Community Phasi Charoen Bangkok. Thesis Master. National Institute of Development Administration.

Kontogeorgopoulos, N. et al. (2015). Homestay Tourism and the Commercialization of the Rural Home in Thailand. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 20(1), 29–50.

Kumaran, S., Kannan R., & Milton, T. (2013). Tourist Satisfaction with Cultural/Heritage Sites at Madurai. Asia Pacific Journal of Marketing & Management Review, 2(3), 62-68.

Ministry of Tourism and Sports. (2011). National Tourism Development Plan 2012-2016. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Office of National Economics and Social Development Board (NESDB). (2007). The National Economics and Social Development Plan no.11, 2007-2011. Bangkok: NESDB.

Oknation. (2018). Development in the Mekong Basin. Retrieved March 2, 2018, from http://oknation.nationtv.tv/blog/uniformedscholars/2011/08/05/entry-2

Prachachat. (2018). Keep an eye on the Thai tourism year 2018. Retrieved March 2, 2018, from https://www.prachachat.net/tourism/news-95937

Ruangkalapawongse, S., & Ruangkalapawongse, A. (2015). Cultural Tourism Management by Participative Approach in Koh Kret Community Amphur Pak Kret, Nonthaburi. Thesis Master. Suan Dusit University.

Rungruang, N. (2016). The Components of Community Best Tourism Affecting Tourism Development at Angwangkea and Pukongkam in Kutkhaopun District Ubonratchathani Province. Thesis Master. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Thongchim, P. (2015). Managing collaboration in Community Based Tourism on Lanta Island, Krabi Province. Thesis Master. Prince of Songkla University.

Toeypho, K. (2016). Homestay Culture: Developing Model of Management Tourism by Community Wang Nam Khiao District Nakhon Ratchasima Province. Thesis Master. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Ubon Ratchathani Tourism and Sports Office. (2014). Ubon Ratchathani province information. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Tourism and Sports Office.

degree. (2018). Thailand tourism situation 2017. Retrieved March 5, 2018, from http://www.362degree.com.