รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย

Main Article Content

สุจรรยา ขุนทอง
ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร
กันต์ฤทัย คลังพหล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย 2) ทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประธานหรือผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย วิธีการเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามเกณฑ์ของแฮรี่ และคนอื่น ๆ ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 520 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยพบว่า ความมั่นคงทางการเงินมีอิทธิพลทางบวกต่อเทคนิคการบัญชีบริหารและการบริหารสินทรัพย์ เทคนิคการบัญชีบริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ทั้งนี้ตัวแปรการบริหารสินทรัพย์อธิบายได้ด้วยเทคนิคการบัญชีบริหารและปัจจัยความมั่นคงทางการเงินได้ร้อยละ 73  และร้อยละ 61 ตามลำดับ 2) การทดสอบรูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ และ 3) แนวทางที่ได้จากผลการวิจัย คือ สหกรณ์ควรนำความมั่นคงทางการเงิน เทคนิคการบัญชีบริหาร ไปพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
ขุนทอง ส., ศิริโวหาร ธ., & คลังพหล ก. (2019). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1340–1351. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/191391
บท
บทความวิจัย

References

Army Internal Audit Office. (2016). (MSP) Military in the Army Region 4. Retrieved March 19, 2016, from http://www. rta.mi.th/216100u/Data/Data_pro/CAMP_ARMY/Page_camp4.htm.

Ayedh, A., Mohamed, A., Eddine, H., & Oussama, C. (2015). The impact of advance Management accounting techniques on performance: The case of Malaysia. Middle East Journal of Business, 10 (2).

Bumrungrat, K. (2016). Analysis of data factors of financial ratios of Cooperatives. Agriculture and Non-agricultural cooperatives for the year 2015.

Chalikarnchanana, K. (2009). Management Accounting. Bangkok: Chulalongkorn University.

Chonphaisan, P. (2016). Business alarms in case studies of companies registered in Stock Exchange of Thailand. Net Review, 30 (94), 238-249.

Cihak, M., Demirguc-Kunt, A., Feyen, E., & Levine, R. (2012). Benchmarking financial systems around the world. World Bank Policy Research Working Paper (6175).

Cooperative Financial. (1999). Surveillance and Warming System: Set Standard Program. Bangkok: CFSAWS.

Cooperative Promotion Department. (2015). CAMEL Analysis Application Guide. Bangkok: Cooperative Auditing Department.

Ngernprasertsri, N. (2014). Quality management. (2nd ed.). Bangkok: Thammasat University Press.

Preedasak, P. (2013). Principles of Microeconomics. (4th ed.). Bangkok: Thammasat University Press.

Rasid, S. Z.A., Isa, C. R., & Ismail, W. K. W. (2014). Management accounting systems, enterprise risk management and organizational performance in financial institutions. Asian Review of Accountion, 22(2), 128-144.

Sakulpruet, Y. (2009). Membership of the Community Financial Institution: A Case Study of Community Financial Institutions,Bang Rakhum Sub district, Bang Len District, Nakhon Pathom Province. Master of Arts (Department of Education): Silpakorn University.

Sripan, S. (2009). Strengthening the Strengthening Process of Baan Wang Khum Ngoen Collection Group, Mae Faek Mai Sub-district, San Sai District, Chiang Mai Province. Thesis (Education)