องค์ประกอบ รูปแบบ และกระบวนการสร้างเครือข่ายการ วิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบการวิจัยการศึกษา ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนาหลักสูตรและพัฒนานักวิจัยใน ระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและรูปการ วิจัยการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนจากองค์กรต้นแบบในสังคมไทย 2) การพัฒนาหลักสูตรการ วิจัยที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) การพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ 4) การเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบและรูปแบบการวิจัยการศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการ พัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้าน 1) องค์ประกอบด้านการบริหารงานวิจัย 2) ด้านบุคลากร และเครือข่ายการวิจัย 3) ด้านความรู้และกระบวนการวิจัย และ 4) ด้านทรัพยากรการวิจัย องค์ประกอบ ทั้ง 4 มีความสัมพันธ์ต่อกัน คือ บุคลากรการวิจัยจะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนรูปแบบการวิจัยการศึกษานั้น พบว่า การวิจัยแบบ List Model ที่มีองค์ประกอบ คือ การเรียนรู้ นวัตกรรม การสร้างความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงจากภายใน เป็นเงื่อนไขสำคัญของการวิจัยที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนผลการพัฒนาหลักสูตรการวิจัยการศึกษา พบว่า หลักสูตรการวิจัยการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แบบ List Model ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เป็นหลักสูตรที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการพัฒนาเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ โดยนักวิจัย ที่ผ่านการอบรมสามารถพัฒนาด้วยการพัฒนาโครงการวิจัยและสามารถพัฒนากิจกรรมการวิจัยที่นำไปสู่การ พัฒนาการวิจัยที่สร้างสรรค์ได้
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Kaewthep, K. (2016). Writing research articles for society. Bangkok: Knowledge Network Institute of Thailand.
Ngourungsi. K. (2017). Education for Sustainable Development (ESD). Journal of the Association of Researchers. Vol.21 No.2 May - August.
Pinitphuwadol, k. et al. (2016). Urgent issues of the ASEAN community: Sustainable Development. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.
Suthisa, C. (2018). Research for the local area with Sustainable Development. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Boon-long, P. et al. (2016). Academic for society: principles and methods. Bangkok: Knowledge Network Institute of Thailand and the Thailand Research Fund.
Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (1998). Sustainable Development. Bangkok: Sahathammik.
Phra Sutheeweerapandit (Abhakaro). (2017). List Model for research and social development. Bangkok: Buddhist Research Institute of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Siribanpitak, P. (2008). Educational Management for Sustainable Development: Basic education in economy, society and environment. Faculty of Education Chulalongkorn University.
Panich, W. (2015). Trends of Educational institutions in the 21st century. Songkhla: Office of the Secretary Faculty of Education and Liberal Arts. Hat Yai University.
Maesincee, S. (2014). Report of the research project on the development guidelines Thai education and preparation for the 21st century. Bangkok: The Secretariat of the Council of Education, Ministry of Education.
Wilber, K. (2000). Sex Ecology Spirituality. Boston: Shambhala Publications.
Todaro, Michael P. (1997). Ecomomic Devepoment In the Third World. New York: Longman Inc.
Talcott Parsons. (1991). The Social System. Bryan S.Turner Preface to the New Edition London: The Taylor & Francis Group.