การพัฒนาการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ในเครือข่ายธุรกิจเซรามิก เพื่อความยั่งยืน

Main Article Content

ปราโมทย์ ยอดแก้ว
วรัญญาภรณ์ ศรีสวรรค์นล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายธุรกิจเซรามิกสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลเชิงลึกแหล่งท่องเที่ยว 3 พื้นที่ ทำการสนทนากลุ่ม จำนวน 22 คน สัมมนาปฏิบัติการ จำนวน 35 คน และเสวนาพัฒนาการ จำนวน 40 คน และมีการบูรณาการข้อมูลในพื้นที่ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการตีความตามความเป็นจริง


          ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ในเครือข่ายธุรกิจเซรามิกเพื่อความยั่งยืน ต้องเริ่มจากความเมตตากรุณาตามหลักศาสนา ที่สามารถสร้างสรรค์การดำเนินชีวิตในการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจของสังคม ซึ่งต้องมีการพัฒนาคน ตั้งแต่ผู้นำจนถึงสมาชิกในแหล่งท่องเที่ยว โดยต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการให้บริการนักท่องเที่ยวที่ดี และมีการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ด้วยการบูรณาการกิจกรรมของชุมชน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ จากการเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาขอชุมชน การแนะนำการให้บริการกับสิ่งอำนวยความสะดวก การเชื่อมโยงเครือข่ายโดยการส่งเสริมข้อมูลการท่องเที่ยวสถานที่ใกล้เคลียง และการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวสามารถปฏิบัติสร้างประสบการณ์ชีวิต อันเกิดประโยชน์จากการมาท่องเที่ยวในด้านร่างการ และจิตใจ ทำให้นักท่องเที่ยวมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมส่งเสริมสานต่อวิถีวัฒนธรรมของสังคมไทยให้เกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sommit, K. et al. (2013). Research for development of volunteer tourism in the Upper North. National Research Council of Thailand (NRCT) and the Thailand Research Fund (TRF).

Vejama, T. (2014). Creative Tourism For To Prepare Thai Tourism. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9 (1), Page 64-77.

Chailamrung, T. (2009). Role of a Local Administrative Organization in Promoting Sustainable Tourism based on the concept of sufficiency economy. Nonthaburi: King Prajadhipok’s Institute.

Singkram, P. et al. (2014). Factor of Eco-historical Tourism Development in Puntainorasing historical area, Samutprakan Province. Journal of Humanities and Social Sciences. Mahasarakham University, 33 (1), Page 140-150.

Phetsathit, P., Dokthaisong, B. & Homyig, V., (2015). The strategies of Sustainable Tourism Management of Kamphaeng Phet Province. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 21 (2), 173–186.

Apakro, S. et al. (2013). The Model and processes of Buddhism – based tourism development in Thailand. National Research Council of Thailand (NRCT) and the Thailand Research Fund (TRF).

Kaewsanga, P. & Chamnongsi, N. (2012). Creative tourism: a new alternative to Thai tourism. Suranaree Journal of Social Science, 6 (1), page 91-109.

Jaima, W. et al. (2013). The suitable Tourism Pattern and Activities in Chiang Rai Province for Elderly Foreigher tourists. National Research Council of Thailand (NRCT) and the Thailand Research Fund (TRF).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2009). Creative economy. Bangkok: BC Press.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2011). Competitiveness Newsletter. 3 (2) (June 2011).