ชุมชนนักปฏิบัติ: การจัดการความรู้การผลิตสินค้าหัตถกรรมสร้างสรรค์ ทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง
ประทีป พืชทองหลาง

บทคัดย่อ

“ชุมชนนักปฏิบัติ” เป็นวิธีการจัดการความรู้ที่ได้รับการยอมรับและแพร่หลายในปัจจุบัน การนำการจัดการความรู้มาใช้ในการศึกษาทุนทางปัญญา และถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นชุมชนนักปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่จะอำนวยประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนในประเทศไทย บทความนี้เสนอผลการจัดการความรู้ และถอดบทเรียนชุมชนนักปฏิบัติผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในจังหวัดเชียงใหม่ คือ ชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มกับปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้สืบทอด จำนวน 35 คน คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า (1) ทุนทางปัญญาที่โดดเด่นของชุมชน คือ ภูมิปัญญาการผลิตหัตถกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของล้านนา เช่น โคม ตุง ข้าวถัก เป็นต้น จนกลายเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าทางวัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน (2) การจัดการความรู้ ผ่านการบอกเล่า สาธิต ปฏิบัติจริง ถ่ายทอดโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หลักสูตรท้องถิ่น และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เริ่มจากถ่ายทอดให้คนในครอบครัว แล้วขยายไปสู่ชาวบ้านในชุมชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ (3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนนักปฏิบัติ คือ การรักษาลวดลายและรูปแบบดั้งเดิมไว้  ในขณะเดียวกัน ก็สร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในเทศกาล สถานที่ และพิธีกรรมตามยุคสมัย

Article Details

How to Cite
พืชทองหลาง ญ. ., & พืชทองหลาง ป. (2019). ชุมชนนักปฏิบัติ: การจัดการความรู้การผลิตสินค้าหัตถกรรมสร้างสรรค์ ทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1474–1490. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/187522
บท
บทความวิชาการ

References

Boonaon, S. (2017). Interview. June, 7.

Boonmee, U. (2017). Interview. August, 22.

Changkaoprom, T. (2017). Interview. November, 1.

Chomphurat, J. (2017). Interview. November, 1.

Juntachai, P. (2010). Cost and return on investment of Lanna lanterns: A case study in Mueang Sart Community, Tambon Nong Hoi, Amphoe Mueang Chiang Mai. Thesis Master. Chiang Mai University.

Kanapunya, B. (2017). Interview. November, 1.

Mahawan, R. (2017). Interview. November, 1.

Na thalang, E. (2003). Local Wisdom and Management. Bangkok: Amarin Press.

Nikamanon, P. (1992). Research Report for Knowledge and Knowledge Transfer in Rural Thailand. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Phongphit, S. (1993). Back to the Root. Bangkok: Thienwan Press.

Phrakhru Rattanachaitham. (2017). Interview. August, 22.

Pongthai, T. (2017). Interview. August, 22.

Peuchthonglang, P., & Namwongprom, A. (2014). Creative Economic Development Model of Lanna Lantern Manufacturers at muang Sart Community in muang District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 1(3), 129-139.

Peuchthonglang, Y., & Peuchthonglang, P. (2017). Lanna Lanterns: Traditional Production Formats and New Designs for Business. Journal of Social Sciences and Humanities, 43(2),187-216.

Plessis, M.du. (2008). The strategic Drivers and Objectives of Communities of Practice as Vehicles for Knowledge Management in Small and Medium Enterprises. International Journal of Information Management, 28, 6167.

Ramwong, C. (2017). Interview. August, 22.

Ramwong, C. (2017). Interview. November, 1.