การสร้างหลักธรรมานามัยในการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลรักษาโรคผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลรักษาโรคผู้ป่วยตามหลักการรักษาโรคของการแพทย์แผนไทย 3) เพื่อสร้างหลักธรรมานามัยในการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย มาประยุกต์ใช้ประกอบการช่วยรักษาโรคของผู้ป่วยกับสังคมปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายบรรพชิต คฤหัสถ์ที่เป็นผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและแพทย์แผนไทย จำนวน 12 รูป/คน นำเสนอในรูปแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเจ็บป่วยหรือโรคมี 2 ประเภท คือโรคทางกายและโรคทางใจ โรคทางกายได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคท้อง โรคฟัน โรคไข้หวัด โรคทางกายนี้มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและความไม่สมดุลของธาตุ เป็นต้น ส่วนโรคทางใจเกิดจากการที่จิตใจถูกครอบงำด้วยอุปกิเลสอาสวะ คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง และความเจ็บป่วยที่มีในกายสามารถทำให้เกิดความทุกข์ทางใจในพระพุทธศาสนามีหลักในการดูแลรักษาโรคที่เกิดจากการเจ็บป่วย 2 แนวทางด้วยกัน คือการดูแลรักษาด้วยยาสมุนไพรและการดูแลรักษาด้วยธรรมโอสถ 2) ทางการแพทย์แผนไทยการเจ็บป่วยเกิดจาก ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟในร่างกายขาดความสมดุล ดูแลรักษาด้วยยาสมุนไพรตำรับ นวด อบ ประคบ งดอาหารแสลง 3) ประยุกต์หลักธรรมมาช่วยรักษาอาการของโรคของแพทย์แผนไทย โดยเสริมรักษาทางด้านจิตใจ เช่น การสวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม คือจิตตานามัย รักษาทางกาย เช่น อิริยาบถถูกท่า อาหารถูกหลัก คือกายานามัย สภาวะที่ได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนาฬิกาชีวิต คือ อากาศสิ่งแวดล้อมดี อาชีพดี คือ ชีวิตานามัย รวมแล้วก็คือ หลักธรรมานามัยในการรักษาโรค สู่สภาวะปกติสุขนั่นเอง
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Busarathit, S. (1999). Buddhist Method of Psychotherapy. Bangkok: Nantaphan Printing Factory.
Group coverage recipe and cookbook medicine Thailand Protection Bureau wisdom of traditional medicine and Thailand. (2012). That leaves the scriptures Vishnu (Vishnu textbook of medicine). Bangkok: WVO Nationals.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka Version of Mahachulalong- kornrajavidyalaya University. Bangkok: MCU Press.
Outchareon, S. et al. (2017). Effectiveness of Depression Reduction Program for the Chronic Disease Patients through Buddhists integrated. Journal of MCU Peace Studies. 3(2), 89-102.
Peaumkasikorn, P. (2013). Nursing Care for Patients According to Buddhism. Master of Buddhist thesis in Buddhism. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrapalad Somchai Payogo and Uthai Sudsukh. (2015). Buddhist Integration of Caring For Chronic Diseases in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies. 3(2), 45-64.
Sapcharoen, P. (1996). Thai Traditional Medicine Holistic Medicine. Bangkok: Veterans Organization Publishing House.
Sripirom, P. (1970). Textbook of Medical Assistance and Health Study. Bangkok: Sripanya.
Thainkumsri, K. (2018). The Humanized Care for Crisis Patients: Perception from Nursing Students’ Practicum. Journal of MCU Peace Studies. 6(4), 1320-1333.
WHO. (2010). The world Health Report: Health Systems Financing: The Path to Universal Coverage. Geneva: WHO.