แนวทางในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง ในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่

Main Article Content

พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร
พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม
แสง จันทร์งาม
ธัชพล ศิริวงศ์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังหญิง 2) เพื่อสังเคราะห์หลักธรรมในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังหญิง และ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังหญิงตามหลักพุทธธรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา จำนวน15 รูป/คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 2) ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 288 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย  จากผู้ต้องขังหญิงทั้งหมด 1,151 คน ซึ่งใช้สูตรการคำนวณขนาดของเครซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา 2) แบบสอบถาม ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ต้องขังหญิงมีความต้องการในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.23 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.544) อันดับแรก การพัฒนาจิตวิญญาณตามกระบวนการภาวนามยปัญญา (ค่าเฉลี่ย = 4.27 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.619) รองลงมา การพัฒนาจิตวิญญาณตามกระบวนการจินตามยปัญญา (ค่าเฉลี่ย = 4.24 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.593) ส่วนการพัฒนาจิตวิญญาณตามกระบวนการสุตมยปัญญา อยู่อันดับสุดท้าย (ค่าเฉลี่ย = 4.19 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.614) 2) หลักธรรมในการพัฒนา ได้แก่ ความเมตตาต่อกัน มีความกรุณาต่อกัน แสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี การทำใจให้รับความเป็นจริงได้ ไตรสิกขา อริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นขั้นการเจริญวิปัสสนา หาเหตุหาผล และ 3) ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางในการพัฒนาไว้ว่า วิธีการที่ทำให้ผู้ต้องขังไม่โศกเศร้าในอดีตอันเจ็บปวดที่ผ่านมา ควรสอนเน้นเห็นคุณค่าในชีวิต โดยจัดพระสงฆ์ไปอบรมธรรมะเน้นการฟังเกี่ยวกับบาป บุญ คุณ โทษให้มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

Ph.D. Buddhist studies

References

Chaiyarin N. (2011). Social-economic impacts on prisoners sentenced to imprisonment and fines in jail and prison in Chiang Mai Province. Master of Public Administration. Graduate School, Chiang Mai University.

Chanmongkon P. (2009). A Comparison of self-esteem and internal locus of control between well-adjusted group and Mal-Adjusted group of inmates at Chiang Mai Woman Correctional Institution. Master of Science. Graduate School, Chiang Mai University.

Chiang Mai Women Correctional Institution. (2019). Retrieved December 27, 2018, from https://www.facebook.com/chiangmaiwomancorrectionalinstitution

Human Rights information Center. (2006). Basic freedom According to the constitutional framework in the context of Thai society and international standards on human rights. Bangkok Mahidol University.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Peuchthonglang. P. & Peuchthonglang. Y. (2019). Mindfulness brought Peacefulness: Grow Mindfulness Tree for World Peace. Journal of MCU Peace Studies. 7(1), 266-277.

Tiravekin L. (2010). Thai Politics and Government. Bangkok. Thammasat University.

Toniti N. (2015). Process communities: learning for change. Retrieved December 27, 2018, from http://semsikkha.org/tha/index.php/article/article-2/222-spiritualdevelopment

Suwunchart P. (1991). The Concepts of Nursing in the spiritual dimension. Bangkok: Ruen Kaew Printing.

Wonganutararoch P. (1998). Psychology of Human Resource Management. Bangkok: Bangkok Supplementary Media Center.

Somnuek S. (2004). Crime repetition of female inmates in Chiang Mai women correctional institution. Master of education thesis. Chiang Mai University.

Perapon S. (2002). The end of mind to be conscious of human. Master Thesis Silapakorn University.