รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ตุ้ยวิไล พิลาคำ
นิศานาจ โสภาพล
มาลี ไชยเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สปป.ลาว จำนวน 60  คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สปป.ลาว มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการ และเงื่อนไขความสำเร็จ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชนเผ่าในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ด้านการบริการและกิจกรรม และด้านการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สปป.ลาว ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริการและกิจกรรม และการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินการ ประกอบด้วย 1) การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร การร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากร การรักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากร การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่า การคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และการมีความเคารพในวัฒนธรรมของชนเผ่า 2) การตลาดและการประชาสัมพันธ์ โดยการจัดการผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และเป็นเอกลักษณ์ การกำหนดราคาการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม การจัดช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ และการกระจายรายได้ 3) การบริการและกิจกรรม โดยการบริการความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภค ความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ที่พักแบบโฮมสเตย์ การให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว กิจกรรมที่มีความดึงดูดใจ และผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ 4) การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว โดยร่วมมือกันในการจัดการท่องเที่ยว พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมอย่างครบวงจร พัฒนาการท่องเที่ยวโดยภาครัฐ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว และพัฒนาด้านงบประมาณจัดการท่องเที่ยว  และ องค์ประกอบที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ชนเผ่าต้องเห็นความสำคัญและให้ร่วมมืออย่างจริงจัง แกนนำต้องมีความเสียสละ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวของชนเผ่าต้องเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาของแขวง แขวงและรัฐบาลต้องมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชนเผ่า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน จากผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า แขวงเซกอง สปป.ลาว มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boit, J. C. (2013). “The role of destination attributes and visitor satisfaction on tourist repeat visit intentions to Lake Nakuru National Park, Kenya.” Master Abstracts International. 52(2) : 6012-A.

Chabra, M. (2015). Information System Development for Cultural Tourism Promotion through the Participation of Communities in the Mekong River Basin, Chiang Khong District, Chiang Rai Province. Doctor of Philosophy Chiang Mai Rajabhat University.

Charoensuk, C. and others. (2015). An Action Research to Acquire Development Guidelines for Marketing Management of Thai Song Daam Culture Tourism in Hua Khow Chine, Pak Thor, Ratchaburi. Ratchaburi: Muban Chombueng Rajabhat University.

Emphan, D. (2004). Ecotourism Classification Guide. Bangkok : Department of Conservation Kasetsart University.

Keokhamphet, S. (2016). Revenue Increasing Tourism Promotion Strategies for the Lao PDR. Doctor of Philosophy Ramkhamhaeng University.

Klinmeang, J. (2014). Guidelines for Tourism Management A Case Study : Cultural Attraction Klong Bang Luang Community Phasi Charoen Bangkok. Master of Arts Integrated Tourism Management National Institute of Development Administration.

Lao National Tourism Administration. (2013). Statistical Report on Tourism in Laos 2009-2012. Vientiane Capital : Statistics Unit, Planning and Cooperation Department.

Ministry of Tourism and Sports. (2012). National Tourism Development Plan 2012 - 2016. Bangkok : Ministry of Tourism and Sports.

Nuson, P. (2015). Factors Influencing Tourists’ Bicycle Mode Choice in Luang Prabang, Lao PDR. Master of Engineering in Transportation Engineering Suranaree University of Technology.

Office of National Economics and Social Development Board. (2007). The National Economics and Social Development Plan No.10, 2007-2011. Bangkok : Office of National Economics and Social Development Board.

Panich, W. (2014). Cultural Tourism Management Strategy Based on Creative Economy of Sakon Nakhon Province. Doctor of Philosophy Khon Kaen University.

Pinkaew, K. (2013). “Cultural tourism.” Retrieved January 20, 2015 from http:// www.tourism-dan1.blogspot.com

Rodtadsana, V. (2014). Cultural Tourism Management of Thai Phuan Group: A Case Study of Kaohong Market, Bangplama District, Suphanburi Province. Master of Arts Dhurakij Pundit University.

Ruangkalapawongse, S. and Annop Ruangkalapawongse. (2015). Cultural Tourism Management by Participative Approach in Koh Kret Community Amphur Pak Kret, Nonthaburi. Bangkok : Suan Dusit University.

Saijai, W. (2015). Tourism Development and Economic Growth at the Provincial Level of Thailand. Master of Economics Chiang Mai University.

Sekong District Planning and Investment Department. (2018). Social Economic Development Plan of the Year 2018 Sekong District. Sekong: Sekong District Planning and Investment Department.

Suwanvong, S. (2014). Candle Traditions : Conservation and Management Model for Public Relations in Order to Promote Cultural Tourism in the Government Sector, Private Sector and Communities of Ubon Ratchathani Province. Doctor of Philosophy Mahasarakham University.

Tourism Authority of Thailand. (2012). Style of Tourism. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

Tourism Development Department. (2013). Statistical Report on Tourism in Laos. Lao:Tourism Research and Administration Division.

World Tourism Organization. (2018). World Tourism Barometer. Madrid: World Tourism Organization.