สตรีกับสังคมสงฆ์: ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีต่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีต่อการพัฒนาพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพแบบลงภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน 21 รูป/ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีมีบทบาทสำคัญต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการสละแรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ สตรีในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายท่านที่โดดเด่นที่สตรีชาวพุทธในปัจจุบันควรถือเป็นแบบอย่าง เช่น พระมหาปชาบดีโคตมี นางวิสาขามหาอุบาสิกา และพระปฏาจาราเถรี เป็นต้น 2) การพัฒนาคือการดึงการมีส่วนร่วมจากทั้งบรรพชิต คฤหัสถ์บุรุษ และสตรี โดยให้สิทธิเท่าเทียมกัน มาร่วมกันวางแผนพัฒนา และร่วมรับผิดชอบดำเนินกิจกรรม การบริหารงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ถึงแม้จะมีผู้บริหารระดับสูงเป็นบรรพชิต แต่ก็มีสตรีเข้าร่วมดำเนินงานในทุกภาคส่วน มีการแบ่งส่วนงานมุ่งพัฒนาตามพันธกิจ 5 ด้าน คือการผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา บริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 3) จากการศึกษาพบว่าสตรีเข้ามามีส่วนร่วมที่แตกต่างกันเป็นไปตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และด้วยศักยภาพของสตรีสามารถร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจได้ โดยจุดแข็งของสตรีคือการสร้างความแตกต่าง การนำประสบการณ์ภายนอกมาประยุกต์ใช้ ความละเอียด และความยืดหยุ่นในการหาแหล่งทุน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Government Gazette for Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1997). Retrived January 3, 2019, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/A/051/24.PDF.
Khwamdee Khondee Dhamdee. Top ten countries contain the most of Buddhism in the world. Retrived March 9, 2016, from http://rightview0202016.blogspot.com/2016/03/10.html.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.
Phra Biteekataksakorn Anāmāyo. (2015). Roles of Women Towards Peace Building: A Case Study of Mae Chee Sansanee Sthirasuta. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkorn Univerity.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2000). The Buddhist’s Discipline. Bangkok: Pimsuay.
Phra Dhampitaka (P.A.Payutto). (1999). Bhudadhamma (Revised and Adjusted edition). (8th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University press.
Phra Mahasomboon Vuḍḍhikaro. (2019). Dean of Graduate School. Interview. January 9.
Phra Rajapariyatkavī. (2019). Rector. Interview. January 15.
Phra Rājvoramedhī. (2019). Vice-Rector for Administration. Interview. January 9.
Phra Sudhirattanabundit. (2019). Director of Office of Buddhist Research Institute. Interview. November 28.
Wannapok S. (2012). Buddhist Disciples. Bangkok: Dhamasabha and Banluedham institute.
Indasara W. (2006). Women in Buddhist era. Bangkok: Thammada Publishing.