คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของ ผู้ไกล่เกลี่ยของสำนักงานศาลยุติธรรม (2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยในทาง พุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อค้นหาวิเคราะห์แนวคิดของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบ เชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงเอกสารและรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกลเกลี่ยต้นแบบเชิง พุทธบูรณาการ ผลการวิเคราะห์พบว่า (1)คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยสำนักงานศาลยุติธรรม ประกอบด้วย การเป็นผู้มีอุดมการณ์ช่วยเหลือให้คู่กรณีสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน เป็นผู้ฟังอย่างมีความ เป็นกลาง มีความยุติธรรม เป็นผู้มีทักษะความรู้ทักษะการพูดและทักษะการฟัง เข้าใจเทคนิคการสื่อสาร เป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ ในด้านการควบคุมอารมณ์ รู้ตนเอง รู้สังคม มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผลการศึกษาวิเคราะห์ (2) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยในทางพุทธ ศาสนาเถรวาท พบว่า ประกอบด้วยเป็นผู้ฟังที่ดี มีศิลปะในการพูด ใฝ่ศึกษาพัฒนาตนเอง จดจำแม่นยำ ทำความเห็นถูกต้อง อธิบายชัดแจ้ง ในสถานการณ์ ประสานสัมพันธ์สามัคคี คุณลักษณะเหล่านี้เป็นแนวคิด ที่เกื้อหนุนกัน และ (3)เพื่อนำเสนอคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย ทางด้านกายภาพเป็นผู้มีสติเป็นเครื่องกำกับตน ทางพฤติกรรม เป็นผู้ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม ทางจิตใจเป็นผู้มีเมตตากรุณาปราศจากอคติ ทางปัญญาเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบ ทั้งหมดนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบเชิงพุทธบูรณาการ ซึ่งเชื่อมกับสังคมให้เกิดความสามัคคีและอยู่รวมกัน อย่างสันติ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bowling D. & Hoffman D.A. (2010). Bring Peace Into the Room : How the Personal Qualities of the Mediator Impact the Process of Conflict Resolution. From Banpot Tonthirawong. (Translator to Thai by). Bangkok: Cop fire printing.
Brown H.J. & Arthur L. (1995). ADR: Principles and Practice, Arbitration International, (4thed.) London: Sweet and Maxwell.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.
Moore C.W. (2014). The Mediation Process Practice Strategies for Resolving Conflict. (4thed.) U.S.A. : Jossey-Bass A Wiley Brand.
Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2011). Buddhist Dictionary Glossary of editions. Bangkok: The Buddhist Printing Center of Dharma Council.
Phramaha Hansa Dhammahāso. (2011) Phuttisanti Method: Integration of Conflict Management Principles and Tools. Bangkok: 21 Century Company Limited.
Phra Adisuk Wachirapunyoo (Pimnon) & Khuntong A. (2015). The Qualifications of the Mediator in the Integrated Buddhist Perspective. Journal of Peace Studies, 3(1), 68-69.
Prathueagrattana C. (2015). Success factor in mediation negotiations. Retrieved December 20, 2015, from http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/Success.
Sawyer J. & Guetzkow H. (1965). Bargaining and Negotiation in International Relations. In International Behavior, Herbert C. Kelman, editor. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Sutthiwattanaphan N. (2015). The dress indicates the image. Retrieved Mar 01, 2015, from http://ejobeasy.com/index.php.
Raksat S. (2010). Thai culture. Retrieved Mar 04, 2010, from http://puzinnian.blogspot.com./2010/03/blog-post.html
Wattanasap, V. (2007). Conflict: principles and problem-solving tools. 3rd edition. Nonthaburi: King Prajadhipok’s Institute.