การส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พระครูใบฎีกาธียุทธ จนฺทูปโม
สัญญา สดประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองของวัดในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อพัฒนาการส่งเสริมวัดให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครปฐม ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อวิเคราะห์การส่งเสริมวัดให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่ปรากฏในฐานระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร จังหวัดนครปฐม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองของวัดในจังหวัดนครปฐม ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3.69) 2) การพัฒนาและรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองที่ศึกษา ทำการแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองออกเป็น 3 กลุ่มโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง คือ กลุ่มหลัก กลุ่มรอง และกลุ่มสนับสนุน เพื่อทราบการส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง และ 3) การส่งเสริมวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ที่วัดได้ใช้ดำเนินการเพื่อปลูกจิตสำนึกในใจคน สร้างจิตสำนึกร่วมเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยกระบวนการต่าง ๆ คือ กระบวนการการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการส่งเสริมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้น  กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากภาคส่วนต่าง ๆ กระบวนการส่งเสริมให้วัด และชุมชนร่วมกันดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเอง และกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายภาคสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunyarattapun, S. (2006). Research Methods for Public Administration. (8th ed.) Bangkok: NIDA.

Dessler, G. (2001). Management: Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. Florida: UG/GGS Information Services.

Limpaisan, N. (2017). Impact of Household Debt in Thai Economy and Countermeasure. Business Review, 9(2), 268-282.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2009). Buddhadhamma. (15th ed). Bangkok: Sahadhammika.

Phrakhrupaladkaweewat. (2018). An Applying Buddhist Principles To Improve The Quality Of Life Of The People in Sri Thamasok 1 Community, Tambon Nai Mueang,Mueang District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(3), 319-334.

Phramaha Nuntawit Dhirabhaddo, Phrapalad Somchai Payogo, & Mekhasilp, R. (2018). Social Welfare in Buddhism Approach: Model and Community Empowerment. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 445-559.

RaiI Khing Municipality. (2018). Strategic Development plan B.E.2559–2563. (copy).

Srithong, N. (2009). To Increase its Leadership in Community Development. Bangkok: OS Printing House.

Wongcha-um, S. (2001). Planning of the Development of the Country. Nonthaburi: Petrung.

Wongsawad, S. (2018). Developing Activity Models in order to Promote Health in the Risk Group of Elders, for the Community Health Team: Critical Participatory Action. Research. Journal of Behavioral Science for Development, 10(1), 192-209.