การศึกษาวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์ กรณีศึกษาหมู่บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลฺโล
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและแนวคิดการดำเนินชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโปว์หมู่บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  2) เพื่อศึกษา           สันติวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์ตามหลักพุทธสันติวิธี 3) เพื่อวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์ตามหลักพุทธสันติวิธี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussions) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม จำนวน 20 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า


ผลการวิจัยพบว่า         


  1. หมู่บ้านสะเน่พ่องเป็นหมู่บ้านที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวอย่างนานกว่า 400 ปี ในอดีตหมู่บ้านสะเน่พ่องเคยเป็นที่ตั้งของตัวเมืองสังขละบุรี และมีพระแก้วขาวหรือพระพุทธรัตนสังขละบุรีศรีสุวรรณซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 และเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

  2. ชาวกะเหรี่ยงโปว์หมู่บ้านสะเน่พ่องได้มีการนับถือพระพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม    สำหรับสันติวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์หมู่บ้านสะเน่พ่องนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม              คือ 1) กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม ได้แก่ ความเชื่อเรื่องไหว้ผีบรรพบุรุษและ      การปฏิบัติตามกฎของหมู่บ้านทั้ง 21 ข้อ  2) กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ แนวความคิดเกี่ยวกับการทำไร่ แนวความคิดเกี่ยวกับการบูชาต้นไม้ ประเพณีฟาดข้าว ประเพณีข้าวใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ และ 3)กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประเพณี 12 เดือน และประเพณีการบวชต้นไม้

  3. จากการศึกษาวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมตามหลักพุทธสันติวิธีของชาวกะเหรี่ยงโปว์ หมู่บ้านสะเน่พ่อง พบว่า 1) แนวคิดเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตาม หลักศีล 5 หลักสันโดษ หลักสาราณียธรรม หลักคารวตาธรรม และหลักฆราวาสธรรม  2) กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม ได้แก่ ความเชื่อเรื่องไหว้ผีบรรพบุรุษสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตาม              หลักความกตัญญู 3) กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ แนวความคิดเกี่ยวกับการทำไร่ แนวความคิดเกี่ยวกับการบูชาต้นไม้ ประเพณีฟาดข้าว ประเพณีข้าวใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักความกตัญญู สาราณียธรรม และหลักฆราวาสธรรม 4 กลุ่มแนวความคิดและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประเพณีทั้ง 12 เดือน และประเพณีการบวชต้นไม้ สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักศีล 5 หลักสาราณียธรรม หลักคารวะตาธรรม มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นเหตุให้ทุกคนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสันติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.

Pumpaiwan S. (2019). Villagers. Interview. January, 6.

Grivijitr B. (2016). Encountering With The Pow Karen Ethnic Group’s Represntation In Thungyai Naresuan Wildlife Sanctuary. Ph.D. Dissertation. Thammasat University.

Pempan P. & Phosangphum J. (2015). Karen Wisdom Kanchanaburi. Kanchanaburi: Art and Culture Kanchanaburi Rajabhat University.

Pesang, S. (2018). Six years Resolution Cabinet samsingha songfivefivethree: Challenges of upgrading the Karen ethnic lifestyle. Retrieved November 18, 2018, from http://www. sac.or.th/databases/ethnicredb/uploads/file/20180129-PgazKnyau-Siraporn(1).pdf.

Phramaha Ratanapat Khosāpānyo. (2019). Abbot Sanepong Temple. Interview. January, 6.

Sangkateeti C. (2019). Teacher of the School. Interview. January, 6.

Sainitut N. (2019). Director of the School. Interview. January, 6.

Santipab. Sanepong Village. Retrieved November 18, 2018, from http://rehmonnya.org /blog/wearcadi/ Wat%20Sanehpong.html.

Setapan A. (2019). Villagers Sanepong Village. Interview. January, 6.

Setapan N. (2019). Headman. Interview. January, 6.

Wanliphodom W. & Suriya S. (2010).“Social and cultural changes”Thai Encyclopedia for Youth By His Majesty the King. Dansutthakarn Print Outpost.

Yanyongkasamsuk R. (2012). Nostalgia: Ancient In Modern Society. Journal of Political Administration and Law, 4(2), 65.