ขบวนการจิตอาสา : การขัดเกลาทางสังคมกับการพัฒนาตนของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของขบวนการจิตอาสาของเยาวชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมการขัดเกลาทางสังคมผ่านขบวนการจิตอาสา 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของขบวนการจิตอาสาที่มีผลต่อการพัฒนาตนของเยาวชน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาด้านเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 25 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบของขบวนการจิตอาสาของเยาวชน คือ การก่อรูปจากความคิดอุดมการณ์ ได้แรงบันดาลใจมาจากครอบครัวและต้องการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคม ลักษณะงานจิตอาสาเป็นงานกิจกรรมเชิงประเด็นสังคมและกลุ่มเป้าหมาย มีโครงสร้างระบบงานแบ่งตามหน้าที่เป็นงานบริหารจัดการ งานธุรการเอกสาร งานนันทนาการ และแรงงาน มีการปลูกฝังวิธีคิดการปฏิบัติงานถ่ายทอดขั้นตอนเทคนิคและเป้าหมายงาน 2) ปัจจัยส่งเสริมการขัดเกลาทางสังคมผ่านขบวนการจิตอาสา คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์สังคมสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และจากการเป็นผู้ให้ผู้ช่วยเหลือผู้อื่น 3) ความเชื่อมโยงของขบวนการจิตอาสาที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของเยาวชน 3 ด้าน คือ ด้านกาย เยาวชนใช้เวลาว่างทำงานจิตอาสา มีบุคลิกภาพกล้าแสดงออกเชื่อมั่นเห็นคุณค่าตนเอง ด้านจิตใจ เข้าใจภาวะอารมณ์ตนเองและผู้อื่น มีความอดทน ด้านความคิดสติปัญญาพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง มีระเบียบ รู้จักให้ มีกระบวนการคิด ในความรับผิดชอบต่อผู้อื่น ไม่สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับคนอื่น และในความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ตระหนักว่าสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคน การทำเพื่อสังคมเริ่มต้นจากตนเอง
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Adiwattanasit, C. (2005). Sociology. Bangkok: Kasetsart University Press.
Adsakul, S. (2017). Introduction to sociology. Bangkok: Chulalongkorn University printing.
All over Thailand. (2018). Poll pointing to Thai children Addictive pornography - skip drug ICE step. Retrieved May 18, 2018, from https://www.springnews.co.th/thailand/355489.
Boonruang, P. (2012). Lifelong Education Management. Bangkok: Numtong printing.
Breaking News MGR Online. (2017). The total number of volunteer applicants. Retrieved October 2, 2017, from https://mgronline.com/uptodate/detail/9600000100560.
Heng, P. (2018). Royal volunteer spirit “We do good by heart”. Retrieved July 28, 2018, from https://www.posttoday.com/social/general/558992.
National Youth Agency England. (2007). Young People’s Volunteering and Skills Development. Retrieved May 26, 2018, from https://dera.ioe.ac.uk/6643/1/RW103.pdf.
Phra Dermthae Chaohinfar et al. (2007). The study of guidelines for cultivating moral Consciousness through the education system: A case study of the Buddhist Tzuchi Foundation Taiwan. Retrieved June 8, 2018, from https://ebook.hu.ac.th/images /moral/jitasa/05Study/05Study.pdf.
Phra Paisal Visālo. (2012). Suggest Thai children have a volunteer spirit. Do not do it for yourself. Retrieved July 16, 2018, from https://www.thaihealth.or.th/.../16821-%22.
__________. (2014). Fill life with volunteer spirit. (6th edition). Bangkok: BuddikaNetwork. RYT9. (2018). ThaiPort Volunteer spirit is a national agenda. Retrieved July 9, 2018, from https://www.ryt9.com/s/tpd/2842505.
Somdet Phra Buddhakosajarn (P.A.Payutto), (2018). Sustainable Development. (21st edition). Bangkok: Komolpublishing.
Sutthirat, C. (2012). Teach children to have public minds. (5th edition). Bangkok: Chulalongkorn University printing.
Udom, C. et al. (2016). Social key institutions and the linkage of youth development. Phranakhon Rajabhat ResearchJournal, 11(2), 235-236.