สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันในองค์กรของบุคลากรการประปานครหลวง 2) ศึกษาการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรตามหลักพุทธสันติวิธี 3) เสนอสันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 กลุ่ม รวม 29 รูป/คน ข้อมูลเชิงปริมาณจากการตอบแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง 354 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป ตรวจสอบข้อมูลด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่าพนักงานการประปานครหลวงภาพรวมมีความผูกพันในองค์กรในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ความรู้สึกมีความหมาย ความรู้สึกปลอดภัย และความพร้อมที่จะผูกพัน ซึ่งสามารถเสริมสร้างความผูกพันได้โดยหลักพุทธสันติวิธีเชิงรุก คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคม สร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นแก่คนอื่น สร้างการมีส่วนร่วมสร้างความเป็นธรรมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน หมั่นประชุมเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน และแบ่งปันทรัพยากรและสิ่งอื่นแก่เพื่อนมนุษย์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์องค์ประกอบกำหนดเป็นปัจจัยความผูกพันองค์กรและนำหลักพุทธสันติวิธีมาสนับสนุนการกำหนดกลยุทธ์นโยบายสันติสุข 4 ประการ คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความผูกพัน การจัดส่งเสริมสุขภาพทางกายทางการเงินและทางใจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระดับบุคคล การส่งเสริมการสร้างความผูกพันในองค์กรอย่างเอาใจใส่และต่อเนื่องพร้อมทั้งการให้เวลาและโอกาสในการสร้างวัฒนธรรมยกย่องคนดี
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Best, John W. & Kahn, Jame V. (1997). Research in Education. (8th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Bunnak B. (2003). Management Science. Bangkok: Formula Phaisan.
Mahachulalongkorn University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.
Malawong M. et al. (2005). Organizational Commitment of Operators in Rajamangala University of Technology Lanna, Western Campus, Research Report, Rajamangala University of Technology Lanna.
Office of the Public Sector Development Commission, Definition of Innovation. Retrieved January 19, 2019, from: https://www.opdc.go.th/psic/main.php?url= content& gp=1&mn=3
Phramaha Hansa Dhammahāso. (2011). Buddhist Peaceful Means: Integration of principles and conflict management tools. Bangkok. Company 21 Century Company Limited.
Phra Srīgambhīrañāṇ. (2016). Integrating Buddhism to strengthen management power. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing School.
Ramkhamhaeng university. (2010). Chalermprakiat Academic Service Branch Kanchanaburi Province. Motivation in the performance of personnel at Ramkhamhaeng University Academic service branch.
Tashakkori A. et al. (2010). SAGE Handbook of Mixed Methods in Social & Behavioral Research. (2nd ed.).USA.: SAGE Publications, Inc.
Vejyanon N. (2000). Thai Human Resource Management. (4th ed.) Bangkok: Faculty of Public Administration, Graduate Institute of Development Administration.