วิกฤตสื่อในสังคมไทย: การศึกษาและการพัฒนารูปแบบ การรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี การศึกษาและการพัฒนารูปแบบ การรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ข่าวสารในสภาพปัจจุบันและการรายงาน ข่าวของสื่อมวลชน 2) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการรายงานข่าวสันติภาพตามหลักพุทธสันติวิธี 3) เสนอรูปแบบการรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ข่าวสารปัจจุบันและปัญหาการรายงานของสื่อเกิดสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลง จากเทคโนโลยี เสมือนโดนคลื่นเทคโนโลยีถล่ม ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายทุน การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ตัวสื่อมวลชน และจริยธรรมสื่อ 2) การรายงานข่าวสันติภาพเกิดขึ้นจากการคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม ไม่ปรารถนาให้เกิดหรือสนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สอดคล้องกับหลักพุทธ สันติวิธี เพื่อการดำเนินชีวิตที่มีความสุขและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติท่ามกลางความแตกต่าง หลากหลาย แต่ยังไม่สามารถนำพาผู้อ่านหรือผู้รายงานข่าวไปสู่จุดหมายในชีวิต คือ ความสุข สันติ จึงต้องนำหลักธรรม คือกาลามสูตรและอริยสัจ 4 มาเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จในกระบวนการทำงาน ประกอบกับหลักพรหมวิหาร 4 ปธาน 4 และอคติ 4 เท่ากับให้การศึกษาทางปัญญาและพัฒนาทั้งตัวผู้ส่งสารและผู้รับสาร และเป็นเครื่องมือที่ทำให้วิกฤตสื่อผ่านพ้นไปได้ด้วยปัญญาคือการให้ความรู้และข้อเท็จจริงแก่สังคม ดังเช่น การรายงานข่าวหมูป่าอคาเดมีติดถ้ำ 3) หลักพุทธสันติวิธีที่ประยุกต์ใช้ในกระบวนการรายงานข่าวมีหลักการ วิธีการ และกระบวนการที่สำคัญ คือ WP-3F with M คือการมีสติ เป็นฐานนำเสนอข้อเท็จจริง ทันเหตุการณ์ และก่อให้เกิดศรัทธา (Faith) ในตัวสื่อ จะนำสังคมให้เกิดปัญญา (Wisdom) ด้วยคุณลักษณะ MIM ของ นักข่าวยุคหลอมรวมสื่อ คือ Mindset, Inner Peace และ Multi-Skill
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Achavanuntakul, S. (2014). Media Convergence. Retrieved November 15, 2018, from http:/www.fringer.org.
Galtung, J. and Lynch, J. (2010). Reporting Conflict: New Directions in Peace Journalism, St Lucia. Australia: University of Queensland Press.
Google Trend. Retrieved July 30, 2018, from http:/www.googletrend.com.
Osotanakorn, N. (2018). Cave rescue: Boys and football coach free from Tham Luang. Retrieved July 27, 2018, from http:/www.pptvhd36.com.
Paileeklee, V. (2018). Thaimediafund. Interview. December, 28.
Kongsai, T. (2018). Assistant Editor of Political News, Bright TV. Interview. November, 8.
Phramedhavinaiyaros (Pasiviko) et al. (2019). Confirmed Model: Peace Journalism Model by Buddhist Peaceful Means. Focus Group. January, 25.
Mcintee M. (2015). Journalism with Ross Howard-Video Replay. Retrieved December 15, 2018, from http:/www.theuptake.org.
Howard, R. (2004). Conflict Sensitive Journalism, (A Handbook by Ross Howard), Retrieved August 27, 2018, from http://www.i-m-s.dk/files/publication/IMS_CSJ_handbook.pdf.
Teacher. Definition of News. Retrieved February 19, 2019, from http:/SSRUwww.teacher. ssru.ac.th/siriporn_me/file.php/1/TVB2301/document/meaning.doc