แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ : ศึกษากรณีหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการดำเนินงานของหลักสูตรวิศวกรสันติภาพ ตามหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพในวิทยาการสมัยใหม่ และพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อเสนอแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือกลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นักวิชาการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะวิเคราะห์และพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- จากการทำ SWOT ANALYSIS ทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหาสาระวิชาการ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 4) ด้านสื่ออุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา 5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา 6) ด้านคุณสมบัติผู้สอน พบว่าหลักสูตรมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดของแต่ละด้าน
- ทฤษฎีในวิทยาการสมัยใหม่ทฤษฎีของไทเลอร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด การใช้เทคโนโลยี ส่วนหลักธรรมที่ใช้ในหลักสูตรมี 3 หลักธรรม ได้แก่ หลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งความสำเร็จ หรือ อิทธิบาท 4 และ หลักธรรมชุด 3 เพื่อสลายความขัดแย้ง คือ สติ ขันติ และสันติ หลักธรรมเหล่านี้จะใช้ร่วมกับหลักสูตรฯ เพื่อการพัฒนาชีวิต และสังคม
3. แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร เป็นไปในทิศทางที่ดี ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า หากหลักสูตรได้รับการพัฒนาโดยใช้แนวคิดทฤษฏีวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำเสนอในงานวิจัย ทั้งนี้ เพื่อการดำรงอยู่ในศตวรรษที่ 21 อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อความต้องการของสังคม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Areeya G. (1987). Perspective on Peace: Peace Knowledge Processing. Bangkok: Chulalongkorn University.
Buddhadasa Bhikkhu. (2006). Perfect Education: The Circle That Protects the World to the End. Bangkok: Usa Printing.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Doctor of Buddhist Studies Program, New branch of Peace Education Program.
Mahatthanadull, S. (2018). Deputy Director of International Buddhist Studies of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Interview. November, 28.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2008). Buddhist Dictionary Dharma edition. (12th ed). Bangkok: MCU Press.
Phra Phaisan Visālo. (1999). Education for Human Resource Development. Faculty of Education Rajabhat Institute Chiang Rai.
Phra Rajapariyatkavī, (2018). President of Mahachulalongkornraja vidyalaya University. Interview. November, 5.
Phramaha Hansa Dhammahāso. (2014). Buddhism and modern science. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Sutthirat, C. (2015). in the course of learning management and learning management innovation. (12th ed). Pimluk, Nonthaburi: P-Balance Design and Printing.