การสื่อสารทางการเมือง ค่านิยม ผลประโยชน์ และระบอบการเมืองที่ส่งผลการตัดสินใจเลือกของประชาชนให้นักการเมืองได้รับเลือกตั้ง พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการสื่อสารทางการเมือง ค่านิยม ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากนักการเมือง ระบอบการเมือง และการตัดสินใจเลือกผู้แทนของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป และ 2) อิทธิพลของการสื่อสารทางการเมือง ค่านิยม ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากนักการเมือง และระบอบการเมืองที่มีต่อการตัดสินใจเลือกผู้แทนในการเลือกตั้งทั่วไป การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวนของกลุ่มตัวอย่างคำนวณตามสูตรของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นจำนวน 10 คน และนักวิชาการด้านการเมืองอีก 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารทางการเมือง ค่านิยม ผลประโยชน์ ระบอบการเมือง และการตัดสินใจเลือกนักการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป มีระดับดีมากทุกปัจจัย และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกนักการเมืองของประชาชนมากที่สุดคือ ระบอบการเมือง รองลงไปคือการสื่อสารทางการเมือง ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากนักการเมือง และค่านิยม ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงเหตุผล หรือ แรงจูงใจของประชาชนในการเลือกผู้แทน ซึ่งพรรคการเมือง หรือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Almond G.A., & Bingham, P. (1966). Comparative Politics : A Developmental Approach. Boston: Little, Brown and company.
Banboonlertchai, S. (2016). Summary of the Public Participation Act in the Process of Public Policy. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.
Cheypratub, S. (2008). Communication, Politics, and Democracy in Developed Societies. Chonburi Province. Pathu mthani University Academic Journal, 6(2), 181-182.
King Prajadhipok’s Institute. (2010). Research integration: Local politicians and election behavior 2007. Bangkok: Bureau of Research and Development King Prajadhipok’s Institute.
Petchbordee, L., Naressenie, N., & Pairindra, B. (2015). The Performance Management of Municipalities in Samut Prakan Province. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 9(3).
Phothaen, W. (2011). Basic Concepts of Democracy. Bangkok: Office of the Cabinet.
Promgird, P. (2014). Democracy Development and Democratic Political Culture Building. Rattasapasarn, 62(7), 9-44.