ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำชุมชุนเพื่อสันติภาพ

Main Article Content

นิภาพร ปานสวัสดิ์

บทคัดย่อ

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง จึงเกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ โดย เฉพาะ “ผู้นำ” ที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและต้องให้ความสำคัญกับ “ภาวะผู้นำ” กระทบต่อด้านสังคม และพฤติกรรมมนุษย์โดยเฉพาะมากขึ้น เพราะโลกยุคใหม่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาความไม่สงบ ความ ขัดแย้ง ความรู้และคุณธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพัฒนาผู้นำในการสร้าง “วิสัยทัศน์” และการสร้าง ศรัทธาความเชื่อมั่นเพื่อยอมรับในตัวผู้นำ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ก็เพื่อนำเสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของภาวะผู้นำตั้งแต่ยุคก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน ทั้งทางตะวันตกตะวันออกและหลักธรรมเชิงพุทธ เพื่อได้คุณลักษณะของผู้นำที่ดีของชุมชนเพื่อสันติภาพ โดยมีกรอบแนวคิดและประเด็นที่จะนำเสนอได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะผู้นำด้านสันติภาพ ด้วยการสร้างความสงบ สันติ ที่เป็นสันติภาพ ระดับภายในและการนำไปสร้างสันติภาพภายนอก ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นทฤษฎีของภาวะผู้นำแนว ใหม่ หรือ กระบวนทัศน์ใหม่ จากการศึกษาพบว่าพัฒนาการด้านคุณลักษณะของผู้นำมีพัฒนาการเป็นลำดับ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำระดับผู้บริหารที่ฝักใฝ่ในธรรมและมุ่งเน้นสร้างสันติภาพใน องค์กรและในสังคม ร่วมกับการสนทนากลุ่มย่อยชุมชนเพื่อสันติภาพ 2 ชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาคุณลักษณะ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นว่าผู้นำและผู้ตามมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ครอบคลุมมิติต่างๆ มากขึ้น คือ มิติด้านคน มิติด้านงาน และมิติด้านสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำอย่าง แพร่หลาย ด้วยการสร้างแนวทางปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตให้เกิดสันติภาพภายในและ สามารถนำความรู้ไปสร้างสันติภาพภายนอก ได้อย่างมั่นใจและเกิดสันติภาพขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

How to Cite
ปานสวัสดิ์ น. (2019). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำชุมชุนเพื่อสันติภาพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1502–1515. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/178374
บท
บทความวิชาการ

References

Dubrin, J. A. (2010). Adership Research Findings, Practice, and Skills. (7th ed.). OH; SouthWestern/Cengage.

Jongwisan. (2000). “Training Result of Leaders’ Transformational Leadership Kasetsat University Students”. Dissertation of Philosophy, (Research Branch of Applied Behavioral Science). Graduate School: Srinakharinwirot University.

Leithwood, K., & Jantzi. D. (1999). Towards an explanation of variation in teaccher’s perceptions of transformational school Leadership: Education Administration Quarterly. NY: Mc. Grow-Hill.

Phramaha Vudhijaya Vajiramedhi (V. Vajiramedhi). (1999). Truly Happy with Wisdom Way to Happiness with Wisdom. (2nd ed.). Bangkok: Papirus Publication.

Saihu. (2001). Mechanism of Society. (10th ed.). Bangkok: Chulalongkorn Publishing House.

Saonanond. (1999). Leadership. (3rd ed.). Nakhonratchasima: Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Wittayaudom. (2005). Leadership. Bangkok: Theera Film and Architect Co., Ltd.