คุณลักษณะของผู้นำชุมชนเพื่อสันติภาพที่พึงประสงค์ในสังคมไทยปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและคุณลักษณะผู้นำชุมชนเพื่อสันติภาพที่พึงประสงค์ 2) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้นำชุมชนเพื่อสันติภาพในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อนำเสนอคุณลักษณะของผู้นำชุมชนเพื่อสันติภาพที่พึงประสงค์ในสังคมไทยปัจจุบัน กลุ่มประชากร 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้นำในสังคมไทยจำนวน 12 ท่านที่ฝักใฝ่ทางธรรมและเป็นระดับผู้บริหารทั้งภาครัฐเอกชนและบางท่านมีวิถีชีวิตเป็นปราชญ์ชาวบ้าน 2) กลุ่มผู้นำชุมชนมุ่งสร้างสันติภาพ 2 พื้นที่ 12 ท่าน รวมทั้งสิ้น 24 ท่าน นำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ตรวจสอบและยืนยันองค์ความรู้ด้วยการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่า ผู้นำส่วนน้อย ยังปฏิบัติศีล 5 ไม่ครบทุกข้อ เนื่องจากขาดวินัยในการปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรและผู้นำส่วนใหญ่มีการดำเนินชีวิตและการสร้างสันติภาพต่อเนื่องดี 2) จากการศึกษา พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงพุทธของผู้นำ ควรใช้หลักไตรสิกขาการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมกับหลักธรรมที่ส่งเสริมเช่น หลัก สัมมาทิฏฐิ กัลยาณมิตรธรรม 7 โยนิโสมนสิการ และหลักสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น ซึ่งมีการพัฒนา 3 ด้าน โดยเริ่มจาก ศีลภาพ จิตภาพ และก้าวหน้าไปปัญญาภาพ 3) ผู้วิจัยนำเสนอคุณลักษณะของผู้นำชุมชนเพื่อสันติภาพที่พึงประสงค์ในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยกรอบคุณลักษณะที่ดี 4 ด้านคือ1) บุคลิกดี ประกอบด้วย สุขภาพแข็งแรง วางตัวได้ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส กริยาสุภาพเรียบร้อย 2) พฤติกรรมดี ประกอบด้วย มีศีลครบ 5 ข้อ มีวินัย มีสัจจะวาจา มีสัมมาอาชีพ3) จิตใจดี ประกอบด้วย มีเมตตากรุณา มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ควบคุมอารมณ์ได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และ 4) ปัญญาดี ประกอบด้วย รู้แจ้ง รู้ทันโลก ปรับตัวเก่ง กล้าหาญ อดทน และ สันโดษ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bennis, W., & Nanus, B. (1985). Leaders: The Strategies for Taking Change. New York: Harper and Row.
Dubrin, J. A. (2000). Leadership, Research Findings, Practice, and Skills. (7th ed.). OH: South-Western/Cengage.
Kaewponthong, J. (2018). Community Management for Sustainability. Dhammathas Academic Journal, 18(1), 263-274.
Keyuraphan, S. (2018). Buddhist integrated Ways for Solving Thai Political Conflicts at Present. Journal of Graduate Studies Review, 66-78.
Nyani, Y. (2018). Buddhist Cardinal Principles for Peace and Harmony. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 19-29.
Peuchthonglang, P., & Peuchthonglang, Y. (2018). The True Friends: Noble Friends on the Path of the EnlightenmentǰJournal of MCU Buddhapanya Review, 3(2), 117-138.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2014). Buddhadhamma. (39th ed.). Bangkok: MCU Press.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2015). Dictionary of Buddhism. (24th ed.). Bangkok: Plithamma.
Phramaha Hansa Dhammahaso. (2013) . Buddhist Peaceful Means: Integrating Principles and Conflict Management Tools. Bangkok: 21 Century.
Raksamueng, S. (2018). The Dhammadhipateyya: The Ideal of Creating Balance for State Sovereignty. Journal of MCU Social Science Review, 7(4), 150-157.
Ralph M. S. (1974) . Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York: Free Press.
Wattanapradith, K. (2015). Buddhist Method for Creating Motivation to Observe the Five Precepts. Journal of Psychology Kasem Bundit University, 5(1), 1-15.
Wittayaudom, V. (2005). Leadership. Bangkok: Theera Film and Side Text Company.