วิถีแห่งศรัทธาในสหภาพเมียนมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิถีแห่งการสืบสานศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา พบว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พระพุทธศาสนามีความเป็นอัตลักษณ์สูงทั้งในเชิงสัญลักษณ์และเชิงปฏิบัติ “พระพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง” ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม บริบททางสังคมที่ว่าด้วยรัฐ การเมืองการปกครอง องค์การทางพระพุทธศาสนา (2) เพื่อวิเคราะห์เหตุปัจจัยแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมาความสัมพันธ์ทางสังคมครอบครัวและวัฒนธรรม กระบวนการเสริมสร้างทางศาสนาและวัฒนธรรม และบริบททางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในมิติของรูปธรรมและนามธรรม เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มั่นคงของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา การที่สหภาพเมียนมาได้วางแผนความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาในรูปแบบประเภทสร้างความศรัทธาจากรุ่นสู่รุ่น มีการวางแบบแผนการเคารพศรัทธา มีความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบัน และส่งไปอนาคต ก็เพราะองค์ประกอบด้านวิถีแห่งความศรัทธาของประชาชน ซึ่งเป็นฟันเฟืองที่คอยหนุนส่งและเกาะกุมขับเคลื่อน ให้พระพุทธศาสนาดำเนินยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งในที่สุดวิถีแห่งความศรัทธานี้ได้กลายเป็นจุดที่แข็งแกร่งของพระพุทธศาสนาของประเทศนี้ ที่สามารถดำรงอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาในด้านการปฏิบัติ และการศึกษา จะเป็นทิศทางและแนวโน้มที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Dharma, T. (2018). Buddhism in Myanmar. Retrieved September 12, 2018, from http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/burma.php.
Gombrich, C. (1977). Perfect Generosity of Prince Vessantara. UK: Oxford University Press.
Hall, D. G. E. (1960). Burma Third edition. London: Hutchinson University Library.
Keamasara, V. (1997). Punched under the belt of the Burmese dictatorship tradition.
Niyomtham, W. (2008). Learn Burmese culture society. Phitsanulok: Thai Family Print Factory.
Ngeindee, A. (2011). Study of faith Traditions and rituals of Buddhism as a social capital - Culture for the Thai-Burma Border Community Development Two sides of the Moei Rive. Ph.D. Dissertation. MahaSarakham university.
Phra Raja dhammanithesa, (1987). History of Buddhism, Volume 7, Buddhism in Lanka, Mon, Myanmar. Bangkok: Religion.
Phra Suthee thammāmanuwat, (2014). Buddhism in Myanmar (Myanmar): History, culture and social relations. Journal of Graduate Studies, Periscope. (10)2, May-August.
Sooksawut, S. (2011). Art in Myanmar. Bangkok: Stream Publishing.
Today New. (2018). Myanmar, a faith that does not create a strong culture. Retrieved September 12, 2018, from https://www.posttoday.com/travel/300692
Theerawat, N. (2008). Looking at Burma through Shwedagon. Bangkok: OS Printing House.
Theenoang, M. (2005). Burmese history. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center.
Thwin, A. (2012). A History of Myanmar Since Ancient Times: Traditions and Transformations. London: Reaktion Books Ltd.