รูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาที่มั่นคงของ ชาวพุทธในสหภาพเมียนมา

Main Article Content

พระมหานัทกฤต ทีปงฺกโร
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
บรรจบ บรรณรุจิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิถีปฏิบัติในการสืบสานศรัทธาใน พระพุทธศาสนาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา 2) เพื่อวิเคราะห์เหตุปัจจัยแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มั่นคง ของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 กลุ่ม รวม 30 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า สหภาพเมียนมามีวิถีปฏิบัติในการสืบสานศรัทธาผ่านความเคร่งครัดในคำสอนของพระพุทธเจ้า เคร่งครัดในธรรมเนียมปฏิบัติและเข้มงวดต่อการรักษาวัฒนธรรมประเพณีและศีลธรรม เหตุปัจจัยที่ทำให้ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวที่ยังเหนียวแน่นมาจนถึงปัจจุบัน คือ ความเชื่อตาม หมวดธรรมศรัทธาในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา รูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา คือ การมีเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน และมีการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น มีระบบของหมู่สงฆ์ที่เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ ให้การ สนับสนุนทางด้านการศึกษา เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการทรงจำพระไตรปิฎก รูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาที่มั่นคง ผ่านวิถีทางธรรม อันมีเป้าหมายสูงสุดของ คือ พระนิพพาน ผ่านวิถีปฏิบัติจากสถาบันครอบครัว เป็นครอบครัววิถีพุทธที่สามารถปลูกฝังส่งต่อความเชื่อ ความศรัทธาในวิถีพุทธจากรุ่นสู่รุ่น มีกลไกลขับเคลื่อนผ่านวิถีธรรมนำโดยพระสงฆ์ เป็นตัวแบบของ กัลยาณมิตร ให้ความรู้และสติปัญญา และพัฒนาต่อยอด ผ่านกลไกทางสังคม และวัฒนธรรมประเพณี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ทำให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chabunthit, G., Senia N. G. & Gulyanamith, P. (2013). Proactive Buddhism propagation Strategy. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University In the royal Palac. (7)2, 56.

Gabaae, M. (2018). Buddhists in Myanmar. Interview. November, 20.

Lookkai, M. (2019). Mon people, Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province. Interview. February, 20.

Meephon, A. (2011). The study of faith as a complementary factor to reach the goals of Buddhism. Thesis Master of Art. Graduate School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Niyomtham, W. (2008). Learn Burmese cultural society. Phitsanulok: Thai Family Print Factory.

Phra NawLeang Tejanyanā, (2014). A study comparing the principles of faith in Theravada Buddhism and Jainism. Thesis Master of Arts. Graduate School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

PhraMaha Methas Thammāchari, (2019). Wiwekaram Temple Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province. Interview. February, 2.

Phramaha Hansa Dhammahāso, (2019). Buddhist scholars. Interview. January 20.

Phra Phrom Khunaphon, (2010). Dhamma Dharma revised and expanded. Bangkok: Printing Company, Sahamit Co., Ltd.

Phra Suthee thammāmanuwat, (2014). History, culture and social relations. Journal of Graduate Studies, Periscope. (10)2, 1-2.

Phuthanasiri, T. (2016). Impression, faith and donation of the practitioners at a temple in the central region. Burapha Political Economics Journal. (3)2, 11.

Soon, M. (2019). Mon people, Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province. Interview. February, 20.

SiraKhom, K. (2015). Study of Buddhism restoration in Laos: Study in the reign of ChaiChet thathirat Maharaj and the influence of Northeastern. Thailand. Research report. Udon Thani Rajabhat University.

Teerawat, N. (2008). Looking at Burma through Shwedagon. Bangkok: OS Printing House.

Ubasak, M. (2018). A Burmese tour guide in Yangon. Interview. November 20.

Withipedia Free encyclopedia, (2018). Buddhism in Myanmar. Retrieved October 20, 2018, from https://th.wikipedia.org/wiki.