ความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย: ศึกษากรณีพนักงานมหาวิทยาลัย (งบรายได้) สังกัดสาขา วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

สิทธิพันธ์ พุทธหุน
พรนัชชา พุทธหุน
จักรภพ ศรมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย: ศึกษากรณี พนักงานมหาวิทยาลัย (งบรายได้) สังกัดสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานฯ และเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างระดับความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานกับ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสาขา วิทยบริการฯ โดยภาพรวมมีระดับความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.73 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสาขา วิทยบริการฯ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ ด้านความรู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.20 รองลงมา คือ ด้านความ รู้สึกโดดเดี่ยวถูกทอดทิ้ง อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.05 ลำดับที่สาม คือ ด้านความรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.72 ลำดับที่สี่ คือ ด้านความรู้สึกว่าองค์การ/หัวหน้าไม่มีบรรทัดฐาน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.55 ลำดับที่ห้า คือ ด้านการ มีค่านิยมที่แตกต่างจากคนอื่นๆ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.45 และลำดับที่หก คือ ด้านรู้สึกแยกตนเอง ออกจากงานที่ทำ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.29 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับความรู้สึกแปลกแยกจากองค์การของพนักงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adsakul, S. (1998). Introduction to Sociology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Anumarnrajadhon, T. & Kuldhonbutr, P. (2000). Relationship between Political Powerlessness and Meaning of Election: A case study of Chiang Mai Municipality, Chiang Mai: Chiang Mai University.

Buddhahun, S. (2012). Political Sociology and Social Change. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Buddhahun, S., Sornmanee, C., Srihong, C., Sukkawirach, S. and Korsakul, W. (2018). Organizational Commitment of Local Government Officials: A case study of Bangkok Metropolitan Districts. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 873 – 895.

Crossman, A. (2018). Understanding Alienation and Social Alienation. Retrieved February 4, 2019, from https://www.thoughtco.com/alienation-definition-3026048

Hasanee, S. (2007). Commitment of Staffs: A case study of Gas Separation Plant Staffs, Rayong Province, PTT Public Company Limited, Master Degree’s thesis, NIDA.

Nadsupa, C. (2008). Political Economy Doctrine. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Nimmanee, J. (1994). Alienation of Tobacco factory staffs. Master degree’s thesis, Kasetsart University.

Puasansern, T. (2013). Problems of Favoritism lead to 10 aspects of national disgrace. Retrieved February 6, 2019, from http://boonpengsaepua999.blogspot.com/2013/10/10.html

Royal Academy. (2006). English-Thai Sociology Dictionary, Royal Institute edition. Bangkok: Royal Institute.

Ruengkul, N. (2018). Problems of human resource management of Wangthonglang District Office. Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 1(2), 95-113.

Sawaddipong, P. (1981). Social Psychology of George Herbert Mead. Bangkok: Thammasat University Press.

Surinto, K. (2018). Causes affecting personnel’s decision of resignation: A case study of Office of the National Anti-Corruption Commission’s employees under contract. Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 1(1), 84-108.