สันตินวัตกรรมในการกำจัดมลพิษทางอากาศจากการฌาปนกิจศพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมกรณีการแก้ปัญหามลพิษจากการฌาปนกิจศพของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ประกอบด้วย 1) ระยะวางแผน 2) ระยะกระบวนการ 3) ระยะติดตาม และ 4) ระยะประเมินผล โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 ท่าน การทำสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดเวทีสาธารณะขยายผลความรู้สู่ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการมลพิษจากการฌาปนกิจศพจำเป็นต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาการแก้ไขปัญหามลพิษและสร้างการมีส่วนร่วม โดยกระบวนหลักในการขับเคลื่อนด้วยหลัก 5 ส. 1) สร้างการรับรู้ปัญหาร่วมกันให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง 2) สร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องในวัดและขยายไปสู่คนทั่วไปในสังคม 3) สร้างรูปแบบและวิธีการใช้สารวิมุตติลดมลภาวะจากการฌาปนกิจร่วมกัน 4) สร้างแนวทางป้องกันมลภาวะจากการฌาปนกิจอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือ 5) ส่งเสริมเผยแพร่และขยายผลการแก้ไขปัญหามลภาวะจากการฌาปนกิจสู่หมู่สงฆ์ ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำให้เกิด ความคิดริเริ่มใหม่ (Innovation) ความมีส่วนร่วมของภาครัฐ (Government concerning) เกิดความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Educating) การสร้างความตระหนักรู้แก่ทุกฝ่าย (Awareness) ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ (Peaceful communication) และ การมีจิตสาธารณะ (Public mind)
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boon-Long J. (2004). Dioxin Disaster, Waste and Hazardous Substance Management Bureau, Pollution Control Department.
Food and Drug Administration. (1999). Open the toxin ‘Dioxin’ is the most serious in the world. Retrieved September 2017, from http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15673&id_L3=1262
Charoenwongsak K. (2008). Standard Cremation for Bangkok People Far Away from Poison. Retrieved September 2017, from http://oknation.nationtv.tv/blog/kriengsak/ 2008/03/10/entry-1
Thairat online. (2018). Retrieved September (2018) from https://www.thairath.co.th/content/1460301
Ministry of Natural Resources and Environment Announcement. (2010).
Announcement: Requiring the incinerator to be a source of pollution that must be controlled before discharging air into the environment.
Ministry of Natural Resources and Environment Announcement. (2010). Announcement: Establish standards for the control of emissions from waste incinerators.
Chantarat, N. (2009). Legal measures to control air pollution from cremation. Thesis Master of Laws. Graduate School: Thammasat University.
Srithong, K. and Team. (2017). Test report of substance Wimutti (GAIA) to prevent The occurrence of Toxins from cremation. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Pinthong, P. (2016). Summary of the exchange of learning sessions. Heavy metal and dioxin contamination environment. Science and Technology Research Institute: King Mongku’ts University of Technology North Bangkok.
Pinthong, P. (2017). Application of GAIA in environmental protection and solutions Seminar of Technology to prevent and solve problems Dioxin toxins from cremation. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.