การจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4

Main Article Content

พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการ ดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับ นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนสู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 43 คน โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น 2) แบบวัดด้าน เจตคติความมีเหตุผลต่อความพอเพียง 3) แบบวัดพฤติกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง 4) แบบวัดการ จัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 5) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 6) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระ จากกัน (Paired-Samples t-test) ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตาม ประเด็นการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ 1. สร้างศรัทธา 2. เสริมแรงจูงใจ 3. ให้สะท้อนจิต 4. คิดวางแผนโครงการ และ 5. สานสู่ปฏิบัติ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตาม หลักพุทธจิตวิทยา ที่ได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ จึงสามารถนำไปปรับใช้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonprakob, P. et al. (2008). Participatory research of teachers in the development of

Thai youth’s Intellectual Power. Research report No. 114 of Annual Government Statement of Expenditure of Year 2004-2005. Behavioral Science Research Institute: Srinakharinwirot University.

Chanthawanich, S. (1997). Qualitative Research Method. (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Intasuwan, P. et al. (2007). Research and Development of Intelligent Consumption Behaviors of Students. Research Report No. 110. Behavioral Science Research Institute: Srinakharinwirot University.

Junvibun, S. (2014). The Development of Capability in Learning Process Using Ask and Answer Guided Teaching Method with Clinical Supervision of Buddhist Monks Teaching Morality in Schools. Veridian E-Journal, SilpakornUniversity,7(3).

Mahadilokrat, T. (2014). Effects of a Self-Regulation Program on Sufficiency Characteristic of Eleventh Grade Students, M.Ed. (Educational Psychology). Educational Research and Psychology: Chulalongkorn University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

Ministry of Education. (2017). National Education Development Plan of Year 2017-2036. Bangkok: Prik Wan Graphic.

Pengchit, W. (2000). The Relationship between Materialistic Values and Life Satisfaction, Rotaryclub Members, and General Employees of a Large Organization in the Bangkokmetropolis. M.A. (Social Psychology). Graduate School: Chulalongkorn University.

Phra Maha Sayan Junvibun. (2014). The Development of Capability in Learning Process Using Ask and Answer Guided Teaching Method with Clinical Supervision of Buddhist Monks Teaching Morality in Schools. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7(3), 582-600.

Phuvachanathiphong, K. (2018).The Analytical Study of Relation of the Curriculum of Dhamma Studies and the School Curriculum in the Subject of Buddhist Studies. Research Report, Buddhist Research Institute: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Ploykaew, S. (2014). Development of participatory teaching management model for High school level. Ph.D. (Educational Administration). Graduate School: North University Bangkok.

Siripunt, P. (2016). The Development Of An Activity Package Integrated With The Philosophy Of Economy Sufficiency For Enhancing Life Adjustment Skills Of Grade 10 Students. M.Ed. (Curriculum and Instruction). Graduate School: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Patumtani.

Sumneangjam, S. (2014). The Development of a Learning Management Model for Sufficiency Economics Philosophy Instructional Characteristics of for high school students. Ph.D. (Educational Management and Learning). Nakhon Sawan Rajabhat University.

Suthasinobon, K. (2012). The Development of Integrated Instructional Model Based on Buddhist Priciples Reflects Sufficiency Economy Philosophy in Context of Modern Thai Society. Research Report, Graduate School: Srinakharinwirot University.