ภาวะผู้นำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์

Main Article Content

บุญมา แพ่งศรีสาร
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำาตามทฤษฎีตะวันตกและภาวะผู้นำาตาม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) และ 3) เพื่อเสนอภาวะผู้นำาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เอกสาร 2) การสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ จำานวน 17 รูป/คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และ 3) การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 8 รูป/คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแนวคำาถามในการสนทนากลุ่ม และ ทำาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำาตามทฤษฎีตะวันตกพบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) เป็นผู้นำาที่มี ความสามารถในการสร้างภาวะผู้นำาให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง เป็นผู้นำาที่มีวิสัยทัศน์และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ ผู้ตามทำางานให้แก่องค์กร จนสำาเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะ ผู้นำาแบบมีวิสัยทัศน์ แบบการเปลี่ยนแปลงและแบบมีศีลธรรม และมีภาวะผู้นำาตามหลักธรรมทางพระพุทธ- ศาสนาตามหลัก ปาปณิกธรรม 3 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 สัปปุริสธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และ ภาวะผู้นำาตามหลักธรรมที่เป็นบทบาทและหน้าที่ ได้แก่ ราชสังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 สิงคาลกสูตรว่า ด้วยทิศ 6 อปริหานิยธรรม 7 2. วิธีการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ใช้หลักการบริหาร แบบมีส่วนร่วม ยึดหลักการ ยึดความถูกต้อง ทำตนเป็นแบบอย่าง มีความริเริ่ม และส่งเสริมผู้ตามให้ทำงาน ตามหลักการเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและสังคมทั่วไปให้มีผลดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต 3. ภาวะผู้นำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์พบว่า มี 8 ประการ คือ 1) เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล 2) เป็นผู้มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว 3) เป็นผู้มีความรอบรู้ 4) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ 5) เป็นผู้มีทีมงานที่ดี 6) เป็นผู้มีความอดกลั้นอดทน 7) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม 8) เป็นผู้ให้อภัย ที่ใช้ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน คือการปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ เผยแผ่ สาธารณูปการ และสาธารณะสงเคราะห์ ผู้นำในระดับต่างๆ ควรมีภาวะผู้นำและบริหารกิจการ คณะสงฆ์ภายใต้ภาวะผู้นำดังกล่าวโดยสามารถดูตัวเองออก บอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็น เห็นสัจจธรรม และนำความรู้สู่สากล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Longsamrang, S. (1998). The legend of Buddha disciples. Bangkok: Aksornsiam Printing.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

Phra Methee Thammamaporn (Prayoon Thammamitto). (1996). Thai Buddhist Monarchy. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Nopphon Kantasilo (Saisin). (2014). Leadership development of sangha administrative monks In sangha administrative region 15. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Management). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phratheppariyatmethi (Sarit Phrathat). (2010). Buddhist Leadership and Confl ict Management in Thai Society (Research Report). Nakornsawan Campus: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Prayudh Payutto (P.A. Payutto), & Phavirai, R. (1989). Buddhist Company and Phra Dhamma Discipline. Bangkok: Panya Publishing.

Rodjunwong, V. (2017). Buddhist Leadership for Thailand 4.0. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 4(1), 64.

Singudom, T. (2014). Leadership Development of Sangha for Buddhism Stability in Region 8. Dissertation Doctor of Philosophy. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Thankeaw, B. (2008). History and work of Thai Ethicists. Bangkok: Odeon Store.