ดุซงญอ: ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและ การรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ลงรอย

Main Article Content

บรรพต ต้นธีรวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเหตุการณ์ดุซงญอ ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและการรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ลงรอย 2) เพื่อวิเคราะห์การรับรู้ปัญหาความรู้สึกและการบาดแผลทางใจ และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเยียวยาบาดแผลทางใจของชุมชนดุซงญอ และชุมชนตำรวจพื้นที่ โดยรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ และวิธีการทางสังคมมานุษย์วิทยาของคนทั้งสองชุมชน จำนวนรวม 39 คน ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์ดุซงญอ เกิดเมื่อเดือนเมษายน 2491 ช่วงวันที่เกิดมีหลายความเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ชัดเจนแน่นอน แต่เสียชีวิตทั้งฝ่ายชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาวบ้านดุซงญอปัจจุบันมีความรู้สึกเหมือนมีบาดแผลทางใจ จากการที่บรรพบุรุษของตนไม่ได้ก่อการกบฏ แต่จำเป็นต้องรวมตัวกันลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อป้องกันตนเอง สำหรับตำรวจมองว่าเป็นเหตุการณ์การจลาจลไม่ใช่การกบฎเพราะได้รับคำสั่งให้ไปปราบจลาจล และรู้สึกต่ออนุสาวรีย์ลูกปืนเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ในอดีต ที่เป็นรูปลุกปืนเพราะเป็นอาวุธที่ใช้ในการทำงานไม่ใช่ปฏิมากรรมแห่งความรุนแรงแต่เป็นความทรงจำและความเชื่อ มีความกังวลว่าการกล่าวถึงเหตุการณ์บ่อยเกินไป อาจนำไปสู่การเชื่อมโยงและผลิตซ้ำความรุนแรง ปัจจุบันเวลาเจ้าหน้าที่ตำรวจออกปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงก็จะกราบไหว้อนุสาวรีย์นี้เป็นที่พึ่งทางใจ สำหรับแนวทางการเยียวยาการบาดแผลทางใจ ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รัฐควรมองด้วยใจเป็นกลาง แสวงหาวิธีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ร่วมกัน อนุสาวรีย์ลูกปืนควรใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งบทเรียน ส่วนกระบวนการเยียวยาด้านสาธารณสุขและด้านการศาสนาพบว่าเป็นกระบวนการใช้การพูดคุยในพื้นที่ปลอดภัย มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึก เชื่อมโยงผสมผสานกับหลักศาสนาที่ตนเองเชื่อถือศรัทธา จนเกิดความเห็นอกเห็นใจ ให้อภัย และทางออกที่ยอมรับกันได้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายจะต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นจุดเริ่มต้นก่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Islamjc S. (2017). Faith and Practice Principles. Retrieved June 7, 2017, from http://muslimchiangmai

Jongsuevivatwong,V. Hasuwonakit,S. & Boegli,C. (2015). Healing Thailand Southernmost Fire, Foundation for Southernmost Healing and Reconciliation, Songkhla.

Paul J. & Angela J. (2011). When Blood and Bones Cry Out: Journeys through the Soundscape of Healing and Reconciliation, Oxford University Press, USA.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996).Tripitaka in Thai Version Program of Edition.version1: 11, Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press, Bangkok.

Muhamad Saiyid Romdorvee, Supreme Religious Leader of The Arab Republic. (2007). Keynote Speech in The Occasion of receiving Philosophy of Liberal Art in Islamic Studies Degree, Songkhlanakharin University Press, Songkhla.

Nararatanawong, C. (2009). A Memory Book of Southern Provinces, Quality Art Press, Bangkok.

Nilawatananonda, P. (1949). A Book of Royal Cremation Devoted to the Pass away Polices in Du Song YorRiot incident, Aksornprasert Press, Bangkok.

Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2006). Buddhadharmma. Sahathammik Printing, Bangkok.

Phramaha Hansa Dhammahāso, (2011). Buddhist Peaceful Means :Integration of Principle and Instrument for Conflict Management, 21 Century Publishing, Bangkok.

Veyaree, D. (2017). Psycho-trauma Healing by Islamic Principle, Retrieved June 7, 2017, from http://www.wamythai.org.

Wasi, P. (2004). “Healing and Back Home, Healing and Life Reconciliation Manual” Center for Academic Co-operation and Support in Southernmost Conflict and Violence, IQ Media Press, Bangkok.

Walkowitz, D. & Knauer,M. (2009). Contested Histories in Public Space : Memory, Race, and Nation, Duke University Press, UK.

Satha-Anand C. (2008). Violence and “Truth” Management, Pattani in Half a Century, Thammasart University Press,Bngkok.

United Methodist New Service. (2017). Contested History. Retrieved October 28, 2018, from http://www.spui25.nl/spui25en/events/contested-histories

Yellow M. (2005). “Native Americans Suffer From ‘Historical Trauma’ Researcher Says”

Yoder C. (2015). Truama Healing, When Violence Strikes and Community Security Is Threatened, Good Books Press, USA.