รูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบล ในเขตภาคกลาง

Main Article Content

พิเชต คงคาหลวง
วันชัย ปานจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ( 1) ศึกษาองค์ประกอบที่จำเป็นของการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง (2) สร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางและ (3) ประเมินรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง  กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษา คือ 1) ปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่จำเป็น จำนวน 300 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง เพื่อตอบแบบสอบถาม จำนวน 20 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง จำนวน 15 คนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้ที่เป็นปลัดเทศบาลให้มีมาตรฐานในการบริหารงานมากขึ้น


ผลการศึกษาพบว่า


  1. องค์ประกอบที่จำเป็นของการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ  2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะ 4) ด้านทัศนคติ

  2. รูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง พบว่า ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ 1) บุคลิกภาพ ได้แก่ การพัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ การวิเคราะห์แนวคิด ถกเถียงข้อปัญหาในด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ความเสี่ยงและโอกาสของการประสบความสำเร็จ ในการตัดสินใจที่มีความจำเป็น 2) ความรู้ ได้แก่ การสนับสนุนพนักงานให้ตัดสินใจและปฏิบัติงานบนพื้นฐานของวัตถุประสงค์หลักการ ค่านิยมขององค์การ การช่วยให้พนักงานคนอื่นๆ ให้ เข้าใจว่างานของเขามีความเกี่ยวเนื่องกับความสำเร็จขององค์การ และการเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งขององค์การตนเอง แนวโน้มของอุตสาหกรรมและตลาดเพื่อพัฒนา 3) ทักษะ ได้แก่ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงเวลา ด้วยความสุภาพ การเตรียมวัสดุกับทรัพยากร  ควบคุมให้ ถูกต้อง มีคุณภาพ รวมถึงเข้าไปแก้ความ ผิดพลาด และการรับฟังแนวความคิดเรื่องต่างๆ การจัดการปัญหาที่ละเอียดอ่อนในทางไม่คุกคามคนอื่นอย่างตั้งใจ  และ 4) ทัศนคติ ได้แก่ ความตั้งใจ  ความผูกพัน การรวบรวม การแยกแยะโครงการเป็นส่วนๆ และการทำงานให้เสร็จด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง การพัฒนา เสนอกระบวนการ การใช้เหตุผลจูงใจเพื่อตัดสินใจ การรับข้อมูล การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อเหตุผลที่คัดค้านมีความจำเป็นระดับใด และการวิเคราะห์แนวโน้มการปฏิบัติงาน  การจัดหาเครื่องมือ การแก้ไขปัญหาในการทำงานและการปรับปรุงระบบกระบวนการ หรือเรียกรูปแบบนี้ว่า " PKSA MODEL " 

  1. ผลการประเมินรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง พบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางในการนำไปใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของคู่มือการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลตำบลในเขตภาคกลาง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

Article Details

บท
บทความวิจัย