รูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการ ศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1

Main Article Content

พระครูสารกิจไพศาล
สมศักดิ์ บุญปู่
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 เป็นรูปแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นครูในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 400 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นรูปแบบ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน คือ การติดตามประเมินผล การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การทำสื่อเทคโนโลยีการสอน และการจัดการเรียนรู้ให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

  2. รูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ การพัฒนาทักษะของครู และหลักของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน ประกอบด้วย 1) พัฒนาเด็ก เยาวชนและประชาชนให้มีปัญญาและคุณธรรม 2) เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่หลากหลาย 3) เป็นฐานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 4) เป็นสายใยเชื่อสัมพันธ์ชุมชน องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อการพัฒนาทักษะครูในโรงเรียนศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ให้สามารถที่จะสร้างเสริมให้เกิดชุมชนคุณธรรม สังคมคุณธรรมจากการใช้พลังบวร คือ บ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร) 2) เพื่อให้โรงเรียนศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะของครูเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนและศูนย์กลางการส่งเสริมอาชีพของชุมชน องค์ประกอบที่ 3 ระบบการดำเนินการ และองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ทักษะของครู 6 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการวางแผนการจัดการเรียนการสอนและบทเรียน ทักษะการจัดการชั้นเรียน ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยี ทักษะองค์ความรู้ในวิชา ทักษะความเข้าใจในนักเรียน และทักษะครูในศตวรรษที่ 21 และกระบวนการพัฒนาทักษะครู คือ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การศึกษาดูงาน 4) การศึกษาต่อ 5) การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ 6) การแลกเปลี่ยนครูอาจารย์ระหว่างสถาบันฝึกอบรมกับสถานศึกษา

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 พบว่า มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะครูในโรงเรียนศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน และศูนย์กลางการส่งเสริมอาชีพของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaitamat, A. (2019). The Development of Internal Quality Assurance Operation Model for Schools under the Secondary Educational Service Area Offi ce 23. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(1), 29-44.

Department of Religion, Ministry of Culture. (2011). Project Implementation Guidelines Buddhist Sunday School Center Project Fiscal Year 2011. Bangkok: Department of Religion.

Eun, S. (2002). Contextual Autonomy in EFL Classrooms: A Critical Review of English Teaching Methods in South Korea. Dissertation Abstracts International. 62(11), 3666-A.

Khamthong, A., & Slathongtrng, P. (2007). Dhamma Scholar, Elementary Level is currently in use the revised version. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Printing.

Khongkhapanyo, V. (1997). Documentation Ecclesiastical and Religion Rule. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Wisit Dhiravangso. (2019). Development of the Competency of Sangha Administrators in Surin Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(1), 169-180.

Romine, S. (1975). Student and Faculty Perceptions of an Effective University Instructional Climates. The Journal of Education Research. 68(6), 139-143.

Sakprasertphon, S. (2016). Strategic Planning of Management for Buddhist Sunday Center. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Educational Administration). Graduate School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.