ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน 2) แนวทางการสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน 3) วิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน เป็นการวิจัยในแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเชิงปริมาณใช้การตอบแบบสอบถาม และการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า
1) ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าพบว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนซึ่งกันและกันและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทำให้ลักษณะของการท่องเที่ยวมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง และสามารถ สร้างความยั่งยืนในการท่องเที่ยวได้ 2) แนวทางการสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาการเผยแพร่หลักพระพุทธศาสนาหรือหลักพุทธธรรม การพัฒนาชุดความรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน 2.การจัดการท่องเที่ยวให้เหมาะสมสำหรับบริบทสังคมในปัจจุบัน บทบาทของภาครัฐในการจัดการและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในจังหวัดน่าน 3) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การจัดการด้านคุณค่าจากการท่องเที่ยว และ การจัดการด้านความสะดวกสบายและความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยงพึงพอใจกับการจัดการ ด้านความสะดวกสบายและความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การจัดการด้านคุณค่าจากการท่องเที่ยว มาเป็นอันดับต่อมาซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากัน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร