ความสำคัญของทหารที่มีต่อพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของทหารที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาความสำคัญของทหารที่มีต่อพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล (3) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของทหารที่มีต่อพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
ผลการวิจัย พบว่าคำว่า ทหาร หมายถึง บุคคลผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้นำประเทศ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคง ทำนุบำรุงประเทศและทำหน้าที่อื่นๆ ทั้งในยามสงบ และในยามสงคราม ทหารนั้นมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ 4 ด้าน คือ (1) บทบาทในฐานะเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง (2) บทบาทในการทำหน้าที่ตุลาการ (3) บทบาทในการดูแลครอบครัว และ (4) บทบาทในฐานะพุทธศาสนิกชน
ในสมัยพุทธกาล บทบาทความสำคัญของทหารที่มีต่อพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีหลายระดับด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ พระราชา ในฐานะจอมทัพ ผู้ปกครองแว่นแคว้น เสนาบดีและอำมาตย์ ในฐานะแม่ทัพนายกอง ผู้ทำหน้าที่บังคับบัญชากองกำลังทหาร และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระราชา และไพร่พล ในฐานะที่เป็นกำลังหลักและองค์ประกอบหนึ่งของกองทัพ
ส่วนในสังคมไทย บทบาทความสำคัญของทหารในระดับตำแหน่ง ชั้นยศต่างๆ เริ่มตั้งแต่ พระมหากษัตริย์ไทย ในฐานะจอมทัพ เสนาบดีแห่งกองทัพไทย ในฐานะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และพลทหาร ในฐานะกำลังพลระดับล่างสุด ก็มีส่วนสำคัญในการให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ครบทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านศาสนธรรม (2) ด้านศาสนบุคคล (3) ด้านศาสนวัตถุ และ (4) ด้านศาสนพิธี ทำให้พระพุทธศาสนาสามารถยืนหยัดและมั่นคง มาจนถึงทุกวันนี้
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bundham, D. (2012). King and Buddhism. Bangkok: Ammarin.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka. Bangkok: MCU Press.
Minister Department of the Army. (211). Guidelines and Ordinances. (2nd ed.). Bangkok: Arun Printing.
P.A. Payutto. (2015). Dictionary of Buddhism. (24th ed.). Bangkok: MCU Press.
Phramaha Vichien Vachirawangso and Phramaha Dawsayam Vachirapañño. (2005). Nakorn Rajgir: Main Cities of Buddhism. Bangkok: Thammasapha.
Srirattana, A. (2018). The Evolution of Thailand’s Narcotics Control Complaints. Journal of Thai Ombudsman, 11(1), 195-205.
Thaiprayoon, K. and Wanthana, S. (2017). Political Charisma of General Prem Tinsulanonda. Governance Journal, 6(1), 85-108.
Thongsrikate, I. (2013). Soldier and Civilians: Trajectory to Discipline and Resistance. M.A. Thesis (Population and Social Research) Mahidol University.
Chaiyotha, D. (2005). King with Buddhism in the history. Bangkok: Odienstore.