พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Main Article Content

Pramaha Adidej Sativaro
Thannapaporn Hongthong
Sumeth Boonmaya
Phramaha Weeratis Warinto
Sureeporn Sae-Eab

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสัมพันธภาพเครือข่ายของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามพฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) และใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของแม็คเคลแลนด์ (McClelland) (1961) ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น และที่อาศัยอยู่มากที่สุดคือในจังหวัดสมุทรสาคร ลักษณะของการเข้ามามีทั้งถูกกฎหมาย (นำเข้าตาม MOU) และลักลอบเข้ามา ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้สุ่มเก็บข้อมูลจากตัวแทนประชากรแรงงานพม่าจำนวน 400 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากว่าเพศหญิง มีช่วงอายุอยู่ในระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงประถมศึกษา เมื่อวิเคราะห์แรงจูงใจของแรงงานพม่า พบว่าพฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธเกี่ยวกับแรงจูงใจ ด้านบุญกิริยาวัตถุ 10 ของแรงงานต่างด้าวชาวพม่ามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.67 ซึ่งหมายถึงมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก และ พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธเกี่ยวกับแรงจูงใจด้านกลุ่มพฤติกรรมนิยมของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.76 ซึ่งหมายถึงมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานพม่านั้นมี 4 ด้านคือ 1) วัฒนธรรมด้านที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อม 2) วัฒนธรรมด้านการบริโภค 3) วัฒนธรรมด้านการดูแลสุขภาพ และ 4) วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ซึ่งวัฒนธรรมทั้ง 4 ด้านนี้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหลักธรรมภาวนา 4 ด้วยคือ 1) กายภาวนา หรือการพัฒนาทางกาย 2) ศีลภาวนา หรือการพัฒนาทางด้านศีล 3) จิตภาวนา หรือการพัฒนาทางด้านจิตใจ และ 4) ปัญญาภาวนา หรือการพัฒนาทางด้านปัญญา นอกจากนี้พบว่ามีปัญหาที่สำคัญ 3 ด้านคือ 1) ปัญหาด้านยาเสพติด 2) ปัญหาการแย่งอาชีพของคนไทย และ 3) ปัญหาด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา 8 ประการคือ 1) กำหนดเขตที่พักอาศัย 2) ความร่วมมือจากเอกชน 3) ภาครัฐวางแผนป้องกันและปราบปราม 4) ภาคประชาชนให้ความร่วมมือ 5) NGO เห็นประโยชน์ร่วม 6) สาธารณสุขเข้มแข็ง 7) ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม และ 8) จัดระเบียบสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย