รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนา สมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง

Main Article Content

แม้นเหมือน สิทธิศักดิ์
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
สาระ มุขดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาการให้คำปรึกษาในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง 2) เพื่อวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะการบริหารของ      นักธุรกิจขายตรง ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านคุณลักษณะ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการปรึกษา       แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวัดเชิงคุณภาพในการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง ด้วยการวิจัย         เชิงคุณภาพ และระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ระยะที่ 1 คือผู้บริหารที่เป็นนักธุรกิจขายตรง ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน และในระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักธุรกิจขายตรง ได้จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ได้จำนวน 70 คน แล้วใช้กระบวนการสุ่มในการกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ     แนวคำถามในการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแผนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติแบบบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาการให้คำปรึกษาในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรงที่ได้จากการสังเคราะห์ ประกอบด้วย (1) วิธีการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่มีความสอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 (2) วิธีการในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ที่มีความสอดคล้องกับหลัก     อิทธิบาท 4 (3) วิธีการสร้างขวัญและกำลังใจลูกทีมที่มีความสอดคล้องกับการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน และ (4) วิธีการให้คำปรึกษาแก่ลูกทีมเมื่อประสบปัญหาในการทำงานที่มีความสอดคล้องกับการให้คำปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา

  2. สมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรงด้านความรู้ ประกอบด้วย (1) แนวคิดในการบริหารจัดการศูนย์ (2) ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการศูนย์ให้ประสบสำเร็จ (3) คุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท และ (4) กลุ่มลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทด้านทักษะ ประกอบด้วย (1) เทคนิคหรือวิธีการสร้างแรงจูงใจลูกค้า (2) วิธีการในการเข้าหากลุ่มลูกค้าเพื่อเปิดและปิดการขาย และ (3) วิธีการกระตุ้นลูกทีมให้มีความกระตือรือร้นและเพิ่มยอดขายและด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย (1) จุดเด่นในการโน้มน้าวให้ลูกค้าสนใจสินค้า (2) การจัดการกับลูกค้าที่แสดงทัศนคติไม่ดีต่อสินค้า และ (3) บุคลิกภาพของผู้บริหารประจำศูนย์

          3. รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง    มี 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ โดยมีการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการร่วมกับกระบวนการในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารตามรูปแบบ 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้และทักษะเชิงพุทธจิตวิทยา (2) การให้คำปรึกษาเชิงพุทธ (อริยสัจ 4) (3) การพัฒนาทักษะการรู้คิดเพื่อการบริหาร (4) การพัฒนาทักษะการขายอย่างมืออาชีพ (ภาคทฤษฎี) และ (5) การพัฒนาทักษะการขายอย่าง    มืออาชีพ (ภาคปฏิบัติ) และผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า (1) สมรรถนะการบริหารของนักธุรกิจขายตรง   หลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.90) และเมื่อพิจารณาภาพรวมรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุดคือ สมรรถนะการบริหารด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.94)      (2) นักธุรกิจขายตรงกลุ่มทดลองที่ได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยามีสมรรถนะ การบริหารธุรกิจขายตรงหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     ที่ระดับ .05 และ (3) นักธุรกิจขายตรงกลุ่มทดลองที่ได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบ  การปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยามีสมรรถนะการบริหารธุรกิจขายตรงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buddhadasa Bhikkhu. What is education. Bangkok: Dharma worship Printing.

Buddhadasa Bhikkhu. (2010). The Noble Truth from the mouth; The end.. Bangkok: Sukkhapabjai Group.

Buddhadasa Bhikkhu. (2011). Noble Truth for Modern People. Dhamma lectures are shown to foreign students. Between 6–12 January 1989. Bangkok: Sukkhapabjai Group.

Srijunil C. (2009). Buddhist psychology: The way to heal suffering and cultivate personal mental health. Academic journal University of the Thai Chamber of Commerce Volume 29 th. Issue number 4th (October–December): 188-208.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2003). Buddhist Dictionary Dharma edition. Bangkok: MCU Press.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2012). Buddhadhamma revised and expanded edition. 11th ed. Bangkok: Sahathammik Co., Ltd.,

Pokaeo S. (1997). Counselling in Buddhist Psychology. Bangkok: Office ofPsychology and Development Chulalongkorn University.

Pokaeo S. (2010). Synthesis of the Four Noble Truths to the psychological counseling process/Mental treatment for development and heals life with mind: Concept approach experience and research. Bangkok: Program of Counseling Psychology Faculty of Psychology. Chulalongkorn University.