แนวทางและการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน เพื่อความพร้อมต่อการเข้าร่วมเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Somkamol Kanchanapiboon
Somkhit Suk-er
Kla Somtrakoon

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง “รูปแบบและการพัฒนากิจกรรมวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร” มีความมุ่งหมายดังนี้  1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของหน่วยงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสู่อาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานครโดยกำหนดพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  research) วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary study) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field study) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)


ผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏจัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ต่อมาในปีพุทธศักราช 2538 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาบันราชภัฏเปลี่ยนแปลงสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ซึ่งได้ยกฐานะวิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏอย่างเป็นทางการ สถาบันราชภัฏจึงเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 เพื่อปฏิบัติภารกิจสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


ทางด้านสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า วิชาที่ให้นักศึกษาได้เรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ในหลักสูตรจะพบอยู่ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรม ในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจะมีการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและอาเซียนน้อย ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะให้นักศึกษาได้ไปศึกษาเรียนรู้ผ่านการสำรวจและเรียนรู้ในพื้นที่จริงในโครงการต่างๆ และนำข้อมูลเก็บรวบรวบไว้ รวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมีการให้ความร่วมมือยังไม่ดีมากนัก โครงการไม่เชื่อมโยงกับรายวิชาทั้งเรื่องของเวลาและไม่ตรงกับสาขาที่เรียนทำให้นักศึกษาที่ต้องการเข้าร่วมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้


ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียนมีสาระสำคัญ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านทัศนศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน และตัวชี้วัดความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
Kanchanapiboon, S., Suk-er, S., & Somtrakoon, K. (2018). แนวทางและการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน เพื่อความพร้อมต่อการเข้าร่วมเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1708–1724. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/123177
บท
บทความวิจัย