พุทธบูรณาการในการบริหารชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

Patcharawalai Suppa
Phramaha Pragasit Sirimato
Sanya Sodprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการบริหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐมเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า


1.การบริหารชุมชนเมืองของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3.72เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านสังคมด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านทรัพยากรชุมชนและด้านการบริหารจัดการชุมชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และการบริหารชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการตัดสินใจด้านการปฏิบัติการด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมากทุกด้าน


  1. การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการบริหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมควรมุ่งไปที่การปรับจิตใจและตัวตนของคณะผู้บริหาร และประชาชน โดยนำหลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านประชาชน ด้านการมีส่วนร่วม และด้านภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนที่เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานท้องถิ่นตามขั้นตอนต่างๆ

  2. รูปแบบพุทธบูรณาการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมบริหารและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนจึงเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านสังคม เศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรชุมชน และการบริหารจัดการชุมชน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภารัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรชุมชน จึงกลายเป็นภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบมีการทำประชาคม ซึ่งเปรียบเสมือนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชน โดยมีตัวแทนจากชุมชนต่างๆ และกลุ่มผู้รับผิดชอบในส่วนงานต่างๆ ในชุมชน ได้มีโอกาสพบปะกัน เพื่อประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน สร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญในการพัฒนาชุมชนสู่ความเป็นเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย