รูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

Phrakhrusophonthammapradit Weerapat Junseinak
Maitree Jantra
Phrakruprommakhetkanarak -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารการศึกษา สร้างรูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี และตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 รูป/คน โดยเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง และครูผู้สอนจำนวน 52 รูป/คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลศึกษาสภาพปัญหาการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี ทั้ง 4 ด้าน เป็นดังนี้ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการปรากฏว่าขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานวิชาการ ไม่มีการติดตามดูแลอย่างเป็นระบบ ทำให้ขาดความชัดเจนในการบริหารงาน 2) ด้านการบริหารงานบุคคลปรากฏว่าโรงเรียนขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับศาสตร์ และบุคลากรทางการศึกษายังขาดความมั่นคงในอาชีพ 3) ด้านการบริหารงานงบประมาณปรากฏว่ามีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐไม่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการทำให้มีค่าตอบแทนผู้สอนน้อย และผู้บริหารขาดการชี้แจงงบประมาณให้แก่บุคลากรรับทราบ 4) ด้านการบริหารงานทั่วไปปรากฏว่าโรงเรียนขาดการจัดการบริหารงานอย่างเป็นระบบและขาดการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรับทราบ

  2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี เพื่อนำไปใช้ในการบริหารการศึกษา ปรากฏว่าองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมทั้ง 5 หลักธรรม เป็นดังนี้ 1) ตามหลักอิทธิบาท 4 มี 3 องค์ประกอบ 2) ตามหลักปัญญา 3 มี 2 องค์ประกอบ 3) ตามหลักสิกขา 3 มี 2 องค์ประกอบ 4) ตามหลักพรหมวิหาร 4 มี 4 องค์ประกอบ 5) ตามหลักสังคหวัตถุ 4 มี 3 องค์ประกอบ

  3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการบริหารในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย