A แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วยโดยใช้หลักพุทธสันติวิธี

Main Article Content

Patnicha Sairojpan

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วยตามหลักพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจร้านโชห่วยจะนิยมใช้ลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว เพราะการขาดแคลนแรงงานไทย เนื่องจากถูกมองว่าเป็นงานหนักและจุกจิก ในขณะที่แรงงานต่างด้าวมีความอดทนและสู้งานหนักได้ การจ้างแรงงานต่างด้าวพบปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องระบบการดำเนินการทำบัตรแรงงานต่างด้าวการหมุนเวียนเข้าออกของแรงงานสูง แนวทางการบริหารแรงงานจัดการแรงงานต่างด้าวของร้านโชห่วยเฮียโมทย์-เจ๊ณี นับได้ว่าเป็นได้นำหลักพุทธสันติวิธี กล่าวคือ หลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ การให้ การใช้วาจาที่ดี การทำประโยชน์ และการวางตน มาใช้ในการบริหารจัดการแรงงานที่ช่วยทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร ทำให้แรงงานต่างด้าวได้เห็นถึงความจริงใจ ความรักความเมตตา ของเจ้าของกิจการยึดโยงจิตใจแรงงานต่างด้าวในร้านให้เกิดความสุขและรักในองค์กร องค์ความรู้ใหม่สรุปได้เป็นโมเดลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วย เรียกว่า โมเดล “GPSE” โดย G – Giving for changing quality of foreign Labors’ lives คือ การให้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าว,P – Peaceful speech as the organizational culture คือ การใช้ภาษาสันติสร้างวัฒนธรรมในร้าน S – Striving for foreign labors’ benefits คือ ความมุ่งหวังแรงงานต่างด้าวได้รับการเกื้อกูลและ E – Equality consisting in impartiality คือ ความเสมอภาคประกอบด้วยความเป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย