แนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง

Main Article Content

Chanapa Siwisorn
Phramaha Duangden Thitañāno

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาสภาพบริบทของชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง เพื่อศึกษาแนวคิดการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธี และ เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชาวไร่กาแฟดอยช้างตามหลักพุทธสันติวิธี                


ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประเพณีและการดำเนินชีวิตอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ มีอาชีพทำไร่กาแฟ ซึ่งเดิมทีชุมชนฯ ปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลัก ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำต้นกาแฟไปมอบให้แก่คนในหมู่บ้านได้นำไปปลูก จึงทำให้กาแฟกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักและดอยช้างเป็นชุมชนที่ชำนาญการเพาะปลูกกาแฟคุณภาพดี  รสชาติดี กลิ่นหอมเป็นที่นิยมทั่วโลก ชุมชนฯ ชุมชนมีการบริหารจัดการเพื่อการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ประสานกลมเกลียว มีเสรีภาพและความยุติธรรม พึ่งตนเองได้ ให้โอกาสเท่าเทียม มีสวัสดิการบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเกื้อกูลกัน  พุทธสันติวิธีการสร้างชุมชนสันติสุขของดอยช้าง มิติการให้ด้วยการรวมกลุ่มกันสร้างกาแฟดอยช้างให้มีคุณภาพ แบ่งปันความรู้ ให้โอกาสและกำลังใจ ให้ความยุติธรรมและเสมอภาคในการซื้อขายเม็ดกาแฟ,   มิติการสื่อสาร มีการพูดคุยกันแบบตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวง ใช้สัจจะเป็นที่ตั้ง, มิติการบำเพ็ญประโยชน์ ทุกคนมุ่งสร้างทำเพื่อส่วนร่วม ผลประโยชน์ทั้งหมดเป็นของพี่น้องบนดอย  ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และมิติท่าทีการวางตนที่ทำให้ผู้ใด้รับความช่วยเหลือหรือผู้มาเยือนมีความประทับใจ เชื่อใจกันด้วยความอบอุ่น เอื้อเฟื้อ กลายเป็นเอกลักษณ์ชุมชนสันติสุข ด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยเรียกว่า ‘CHANAPA MODEL’ ด้วยแนวทางปฏิบัตินี้ ชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างจึงได้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จักจนถึงทุกปัจจุบัน   

Article Details

บท
บทความวิจัย