แบบจำลองขีดความสามารถเชิงพลวัตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการขนส่งของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองขีดความสามารถเชิงพลวัตสำหรับธุรกิจการขนส่งของไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการขนส่ง จำนวน 420 แห่ง ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หัวหน้างาน หรือพนักงานที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจานวน 420 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองขีดความสามารถเชิงพลวัตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการขนส่งของไทย หรือแบบจำลอง DCT Model สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ ค่าดัชนี c2/df = 0.478, CFI = 0.999, GFI = 0.99, AGFI = 0.970, RMSEA = 0.000 และ SRMR = 0.032 และแบบจำลอง DCT Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 13 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ (1) ทุนทางปัญญา มี 3 องค์ประกอบ (2) นวัตกรรม มี 3 องค์ประกอบ (3) สภาพแวดล้อมเชิงพลวัต มี 2 องค์ประกอบ (4) ขีดความสามารถเชิงพลวัต มี 3 องค์ประกอบ และ (5) ความได้เปรียบในการแข่งขัน มี 2 องค์ประกอบ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร